ขั้นตอนเรียนต่อ
เรียนในต่างประเทศ : การหางานและอาชีพ

เรียนต่อสายแพทย์ต่างประเทศ ตอนที่ 2 ทำไมเรียนต่อแพทย์ในอเมริกา

เรียนต่อสายแพทย์ต่างประเทศ เรียนต่อแพทย์ในอเมริกา, โปรแกรมแพทย์ในอเมริกา

share image

 

ไปติดตามเส้นทางสู่การเป็นคุณหมอ กับ “หมอมีน” พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด  อดีต รุ่นพี่จุฬาที่ได้ทุนไปทำเรียนทำวิจัยที่อังกฤษ ตอนนี้กำลังเรียนและทำงานที่อเมริกา คุณหมอใจดี จะมาแชร์ประสบการเส้นและทางการเรียนต่อสายแพทย์แบบเจาะลึกพิเศษ  หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆที่กำลังจะเลือกเรียนสายนี้ ติดตามได้ทั้งหมด 4 ตอน

ตอนที่ 1 เรียนต่อสายแพทย์ต่างประเทศ การสมัครเรียนแพทย์ในต่างประเทศมีกี่แบบ

ตอนที่ 2 เรียนต่อสายแพทย์ ทำไมเรียนต่อแพทย์ในอเมริกา

ตอนที่ 3 เรียนต่อสายแพทย์ หลักสูตรแพทย์ในอเมริกา

ตอนที่ 4 เรียนต่อสายแพทย์ คำนวณรายได้ การหางานในอเมริกา

 

 

สำหรับการมาเรียนต่อเฉพาะทางด้านคลินิค จะขอกล่าวถึงในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาในบทความนี้ก่อนนะคะ เพราะว่า เกือบ 90%  ของคนไทยจะมาเรียนที่นี่ค่ะ อีกอย่างก็คือ มีประสบการณ์โดยตรงค่ะ จึงสามารถเล่าให้ฟังอย่างละเอียด ส่วนตอนถัดๆ ไป ใครที่สนใจไปเรียนอังกฤษ อย่าพลาดนะคะ

 

การมาเรียนที่อเมริกา

แบ่งเป็นสองแบบหลักๆ ดังนี้ค่ะ

1. แพทย์ประจำบ้าน (เรซิเด็นท์; resident)

2. แพทย์เฉพาะทางต่อยอด (เฟลโล่; fellow) เช่น แพทย์อายุรกรรมด้านหัวใจ อายุรกรรมโรคติดเชื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มนี้ยังรวมถึง คุณหมอที่เรียนต่อยอดแล้ว ต่อยอดอีก ด้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้านโรคติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

 

Resident เตรียมตัวอย่างไร

Resident คืออะไร

เพื่อที่จะไปทำงานที่อเมริกา ต้องมีการสอบความรู้และทักษะทางการแพทย์ มาตรฐานของประเทศเค้าค่ะ ชื่อเต็มๆ ก็คือ United States Medical Licence Examination (USMLE) เรียกตามตัวว่า “ยู-เอส-เมม-เอล-อี” คนไทยเราก็นิยมเรียกกันว่าสั้นๆ ว่า “ยูสไมล์” ฟังแล้ว ยิ้มได้ แต่ความจริงก็ไม่ได้ยิ้มง่ายๆ นะคะ เพราะว่ามีถึง 3  ขั้นตอน (steps) ด้วยกัน

Step 1.  สอบความรู้ทางการแพทย์แบบพื้นฐาน (Basic Medical Knowledge)

Step 2. สอบทางคลินิค แบ่งเป็น

             Step 2 CK ความรู้ทางคลินิค (Clinical Knowledge) และ

             Step 2 CS ทักษะในการดูแลผู้ป่วยทางคลินิค (Clinical Skills)

Step 3. เป็นการสอบความรู้แบบค่อนข้างประยุกต์ที่ใช้จริงในการรักษาประจำวัน รายละเอียดเบื้องต้นสามารถไปอ่านได้ใน website USMLE เพิ่มเติมได้ค่ะ

***Step 1 กับ 2 ต้องสอบให้เสร็จ และได้ผลคะแนนก่อนที่จะมายื่นใบสมัคร ส่วน Step 3 นั้น สอบตอนไหนก็ได้ ก่อนครึ่งปีสองของการเรียนเรซิเดนต์ เนื้อหาใกล้เคียงกัน Step 2 ค่ะ บางคนก็สอบให้เสร็จไปเลยก่อนสมัคร บางคนก็มาสอบระหว่างสัมภาษณ์ หรือระหว่างเรียนค่ะ

 

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ

จะเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไหร่ อย่างไร เทคนิคต่างๆ สำหรับการจัดเวลาสอบ การเตรียมตัวอ่าน การทำอย่างไรให้ได้คะแนนสูง มีการสืบทอด เล่าสอนกันมา มีสัมมนาจากพี่ๆ ผู้มีประสบการณ์ แบ่งปันหนังสือ เนื้อหา เข้ากลุ่มติว มีหลากหลายมากนะคะ รวมรวมข้อมูลมาแล้ว ก็อย่าเพิ่งตกใจว่า ต้องทำหลายอย่างนะคะ เราต้องเลือกเทคนิคที่ดีที่สุดประยุกต์ใช้กับตัวเอง เนื่องจากมีเทคนิคที่รวมรวมมาทั้งจากเพื่อนคนไทย และชาวต่างชาติในโปรแกรม หลายอย่าง บางอย่างเราก็คิดไม่ถึงเหมือนกัน จึงต้องขอเขียนแยกเป็นเรื่องถัดไปค่ะ ติดตามกันนะคะ

 

 

มาถึงการยื่นใบสมัคร

การสมัครหรือ applying ในที่นี้หมายถึง สมัครเลือกโปรแกรมที่เราสนใจ เพื่อให้โปรแกรมนั้นเลือกเรา เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ อันนี้แล้วแต่บุคคลนะคะ ว่าจะเลือกกี่โปรแกรม เท่าที่คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนไทยมีตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 150 โปรแกรม (เท่าที่ทราบมานะคะ เพื่อน3 ใน 75 คน สมัครเกิน 200 โปรแกรม เค้าบอกว่ากันเหนียวไว้ก่อน - แต่ก็ได้ผลนะ) ไว้จะมาเล่าให้ฟังถึงหลักเกณฑ์คร่าวๆ ว่าควรจะสมัครมากน้อยเท่าไหร่ค่ะ

 

สิ่งสำคัญในการสมัคร

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ คะแนนสอบ USMLE จดหมายรับรอง (recommendation letter) อย่างน้อย 3 ใบ ประวัติส่วนบุคคล (resume หรือ CV) ซึ่งรายละเอียดที่เค้าจะพิจารณาได้แก่ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เกรด ปีที่จบ ประสบการณ์ทำงาน ประสบการณ์งานวิจัย ประสบการณ์อาสาสมัคร หรือเข้าร่วมกิจกรรมใน และนอกมหาวิทยาลัย อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ ข้อความที่บรรยายความเป็นตัวเองของผู้สมัครว่าทำไมอยากมาเรียนต่อเฉพาะทาง (personal statement)

 

การสอบสัมภาษณ์ (Interviewing)

คือการที่เค้าดูจากใบสมัครและเอกสารประกอบแล้วในกระดาษแล้ว ตัดสินใจเรียกเรามาสอบสัมภาษณ์ การสอบสัมภาษณ์นั้น มันจะมีคำถามมาตรฐานที่เราต้องตอบให้โดดเด่น ต้องมีภาษาที่ไม่ต้องเลิศเว่อร์มาก แต่สื่อสารเข้าใจ ตรงประเด็น บุคลิกภาพที่ดี และนิสัยใจคอที่เค้าคิดว่า จะเข้ากับโปรแกรมได้ ระบบการสัมภาษณ์มีหลากหลาย บางทีเลี้ยงข้าวเย็นวันก่อนสัมภาษณ์ ให้เราไปกินกับพวกอาจารย์ และ resident ที่ทำงานอยู่ปัจจุบัน ว่าเข้ากันได้มั้ย บางที่ให้ไปตรวจคนไข้ อ่านผลเลือด ผลหัวใจ แล้วแต่เทคนิคและดวงว่าจะเจอผู้สัมภาษณ์คนไหน เราต้องหาความรู้ และเตรียมพร้อมไว้ก่อน เช่น สอบถามคนที่เคยไปสัมภาษณ์โปรแกรมนั้นๆ

 

***เคล็ดลับที่อยากแนะนำ***

สำหรับคนที่สมัครหลายรัฐ

ถ้าสมัครหลายที่กระจายไปทั่วประเทศ ได้เรียกหลายที่ ต้องเดินทางเยอะ ต้องพยายามจัดวันให้อยู่ในเมือง หรือรัฐใกล้เคียงกัน จะได้บิน ขับรถ นั่งรถไฟ หรือนั่งรถเมล์ไปมาได้สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย

 

คนไทยในต่างประเทศมีน้ำใจมักจะช่วยเหลือกัน ให้ที่พัก ที่กิน พาไปรับไปส่งนะคะ บางคนก็ไปช่วยเชียร์ในโปรแกรมให้ด้วยค่ะ ตอนตัวเองไปสอบก็มีเพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้องช่วยเหลือหลายคนเลย ยังรู้สึกขอบคุณ ซึ้งใจกับความช่วยเหลืออยู่จนบัดนี้ค่ะ ระหว่างเตรียมไปเรียนต่อ อย่ามัวแต่อ่านหนังสือ จนลืมหาคนรู้จักนะคะ  ขอย้ำว่า การติดต่อสื่อสารหาคนที่รู้จัก connection สำคัญมาก เดี่ยวนี้ไม่ยากค่ะ มี social network หลายอย่างให้ติดต่อกันได้ค่ะ

 

การจัดลำดับโปรแกรม หรือ ระบบranking ของตัวเอง

คือ การที่เราเลือกว่าเราอยากเรียนในโปรแกรมไหน จากที่เราถูกเรียกไปสัมภาษณ์จริงๆแล้วเท่านั้นนะคะ เช่น ถ้าเราได้เรียก 14 โปรแกรม แต่ได้ไปสัมภาษณ์จริงๆ แค่ 12 โปรแกรม ก็ rank ได้แค่ 12 โปรแกรมอย่างมากที่สุด  เช่น ถ้าเราอยากเรียนโปรแกรม  A มากด้วยเหตุผลต่างๆ เหนือโปรแกรมอื่นๆ เราก็เลือกเป็นอันดับหนึ่งเลยค่ะ บางคนไปสัมภาษณ์ แต่ไม่ชอบ ไม่เรียนแน่ ก็ไม่ rank ไปเลยก็มีนะคะ อันนี้ต้องมั่นใจระดับหนึ่ง เพราะว่า ไม่ใช่เฉพาะเรา rank โปรแกรม  ตัวโปรแกรมก็ rank เราด้วยค่ะ เช่น โปรแกรม Z รับ 20 คน มีคนมาสัมภาษณ์จริงๆ 600 คน เค้าก็ลำดับ

 

จากคนที่มาสัมภาษณ์ทั้งหมด ถ้าเค้ารับ 100 - 300 คน จำนวนที่รับขึ้นอยู่กับชื่อเสียง ความเจริญของโรงพยาบาล ความปลอดภัยของเมือง และปัจจัยอื่นๆ  สมมุติว่า เราเป็นลำดับที่ 1-20 ของเค้า เค้าเป็นลำดับที่ 1 ของเรา ก็จบ ง่ายไปค่ะ แต่ถ้าเราเป็นลำดับที่ 21 ขึ้นไป แต่มีคนที่เค้า rank อันดับต้นๆ ไปเลือกโปรแกรมอื่นก่อน เราก็อาจจะได้ค่ะ เวลาไปสัมภาษณ์ เราก็จะพอมีความรู้สึกว่าพอจะได้หรือไม่ เค้าสนใจเราหรือไม่  

 

การประกาศผล

อันนี้จะเป็นขั้นตอนที่ลุ้นที่สุดแล้ว เป็นการประกาศผลว่าจะได้เข้าเรียนโปรแกรมไหนเพราะว่า เป็นขั้นสุดท้ายซึ่งบอกว่า ความพยายามทั้งหมดของเรา

Matching  คือ การที่ได้รับการเลือกให้เข้าเรียนต่อในโปรแกรม ได้ผลอย่างไร ขอให้ match ได้ก่อน ส่วนโปรแกรมที่เรา rank อันดับหนึ่งหรือไม่นั้น ต้องอาศัยดวง และหลายๆ อย่าง เพราะอย่างที่กล่าวในเรื่อง ranking มาแล้ว ว่ามันไม่ได้ขึ้นกับเราคนเดียว ขึ้นกับผู้สมัครท่านอื่น และคนที่มีตัดสินใจเลือกในโปรแกรมด้วย

 

Unmatched  ส่วนคนที่ไม่ได้โปรแกรมเข้าเรียนในเบื้องต้น หรือ ไม่ต้องเสียใจไปค่ะ ยังมีลุ้นรอบสุดท้าย สำหรับโปรแกรมที่ยังมีที่ว่าง และคนที่ยังไม่ได้ที่เรียน เรียกว่า post-match scramble คือ ทางองค์กรที่จัดการ  Matching จะมีการประกาศทางอินเทอร์เนตว่า โปรแกรมไหนยังไม่เต็ม  (unfilled) อันนี้เราต้องหูตาไว พอไม่ได้ปุ๊ปอย่าเพิ่งตกใจ รีบดูทันทีค่ะ แล้วรีบส่งอีเมลล์ ใบสมัครไปทันที ถ้ามีคนรู้จักในโปรแกรมนั้น ต้องขอให้เค้าช่วยอีกแรงหนึ่ง ติดต่อโดยตรงกับโปรแกรมเลยว่าเราสนใจจริงๆ มีรุ่นน้องที่ได้มาเรียนด้วยวิธีแบบนี้ 2-3 คนละค่ะ

 

ถ้ายังไม่ได้ ก็ไม่ต้องท้อนะคะ พยายามใหม่ สมัครปีถัดไป หาข้อบกพร่อง ที่เราสามารถแก้ไข หรือ เพิ่มจุดแข็งของตัวเอง ในระหว่างที่รอสมัครใหม่นั้น ก็สามารถมาทำงานวิจัยเพิ่มเติม ฝึกภาษา ฝึกบุคลิกภาพ มาดูงานที่สหรัฐอเมริกา (observing) หาคนที่สามารถเขียนจดหมายรับรองที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา มีคนที่รู้จักหลายคนเลยค่ะ ที่ปีแรกไม่ได้แล้วมาได้รอบสอง รอบสาม ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

อ่านตอนก่อนหน้านี้                                                              อ่านต่อตอนที่ 3

 

 

MUST READ

article Img

8 อาชีพสุดปังที่จะฮอตสุด ๆ ในอีก 10 ปีข้างหน้า เรียนไปไม่ตกงาน

ในอีก 10 ปีข้างหน้า โลกเราจะเป็นยังไงบ้างนะ เราจะยังใช้น้ำมันกันอยู่รึเปล่า จะมีอะไรที่เด็ดกว่า 5G อีกมั้ย แล้วโลกอินเตอร์เน็ตจะเปลี่ยนเทรนด์ไปอีกกี่รอบ    แล้วเรื่องของสายอาชีพล่ะ จะมีอาชีพไหนบ้างที่เป็นที่ต้องการของตลาด เราควรเรียนสายไหนถึงจะไม่ตกงาน วันนี้เรามีคำตอบให้ค่ะ กับ 8 อาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะร้อนแรงเหมือนอุณหภูมิประเทศไทยยังไงยังงั้น เรียกว่าถ้าเรียนด้านนี้ไป รับรองว่าคุ้มทุนสุดๆ จะมีอาชีพไหนบ้าง มาส่องกัน  

140.3K
article Img

7 อาชีพเงินเดือนสูง สุดฮอทยอดนิยมของเด็กสายศิลป์ สายอาร์ต แถมมีโอกาสได้ทำงานต่างประเทศ

รวมอาชีพเงินเดือนสูง ยอดนิยมสำหรับเด็กสายศิลป์ สายอาร์ต แถมมีลุ้นได้ทำงานต่างประเทศ   ต้องบอกว่ายุคนี้เด็กสายศิลป์ สายอาร์ต มีอาชีพที่เป็นตัวเลือกดี ๆ ในอนาคตเยอะมาก เพราะงานสายนี้มีเยอะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นที่ต้องการทั้งในไทยและตลาดต่างประเทศกันเลย ไม่ว่าจะเป็นงานด้าน art งานออกแบบ งานดีไซน์ เรียกว่าเรียนด้านไหนก็มีทางไปต่อกันทั้งนั้น ยิ่งใครเรียนมาด้านอาร์ตแล้วไปเรียนต่อต่างประเทศ ก็อาจจะมีลุ้นได้อยู่ฝึกงานหรือ ทำงานต่อในต่างประเทศ* กันด้วย

108K
article Img

ทำงานจากบ้านก็รวยได้! 5 อาชีพฟรีแลนซ์ที่มีแนวโน้มทำเงินสูงสุด

ณ ตอนนี้ ทุกอุตสาหกรรม ทุกบริษัท ก็คงจะโดนผลกระทบจากเจ้าโควิด-19 กันไปตามๆกันไม่มากก็น้อย หลายๆคนอาจจะเริ่มมองหางานฟรีแลนซ์ต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ขึ้นอีกทาง เอ.. ว่าแต่ เคยสงสัยกันมั๊ยคะว่างานฟรีแลนซ์แบบไหนที่มีแนวโน้มได้เงินเยอะที่สุด มาค่ะ วันนี้ Hotcourses Thailand รวบรวมอาชีพฟรีแลนซ์หลักๆ ที่คาดว่ารายได้จะสูงในปี 2020 นี้ค่ะ   Programmer and Software Developer  

21.2K
article Img

เปิดหมดเปลือก - ทำยังไงถึงจะได้ไปทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ

ความ PM 2.5 ยังไม่ทันหาย ความอันตรายของไวรัสวัยร้ายโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019และ ก็เข้ามาแทรก ช่วงนี้มันเป็นอะไรก๊าน   แน่นอนว่าเรื่องใหญ่ขนาดนี้ก็กลายเป็นปัญหาระดับโลก ชนิดที่ต้องขอแรงหน่วยงานจากทุกสารทิศ หลากหลายประเทศ มาระดมสมองช่วยกันหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน พี่ไทยของเราเองก็ฝากความหวังไว้กับบุคลากรทางการแพทย์ระดับพระกาฬหลายๆ ท่าน ส่วนพวกเราก็ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากป้องกันกันต่อไป และขอส่งแรงใจไปให้ผู้ป่วยทุกคน หายไวๆ กันด้วยนะคะ  

15.6K