
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ทั่วโลกทุกมิติ ทั้งชีวิตประจำวัน การศึกษา การเมือง ธุรกิจ เศรษฐกิจ และการทำงาน
หลาย ๆ บริษัทปิดตัวลง ล็อกดาวน์ หรือเปลี่ยนระบบการทำงานจากสถานที่ทำงานเป็นที่อยู่อาศัย เรียกกันติดปากว่า ‘Work from Home’ นั่นเอง บริษัทเองก็ต้องปรับตัวอย่างหนักตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงลูกจ้าง เพื่อให้องค์กรของตนเองสามารถอยู่รอดได้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ หลายองค์กรที่ไม่ยอมปรับตัวอาจจะไปไม่รอด
แต่หลายองค์กรก็สามารถปรับตัวเองได้ค่อนข้างดี และหลังจากคลื่นโควิดลูกแรกเกือบจะสงบลงในหลายพื้นที่ นโยบายการทำงานที่เกิดขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ก็กำลังจะกลายเป็นเทรนด์ในการทำงานในอนาคต มาดูกันซิว่า 5 เทรนด์การทำงานหลังโควิดที่เปลี่ยนไปจะมีอะไรกันบ้าง
Work from Home เป็นทางเลือกที่พนักงานยังต้องการ
แม้หลายคนจะบอกว่าการทำงานที่บ้านจะทำให้มีสมาธิในการทำงานลดลง หรือมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมีน้อยลง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้คนที่ได้เคย Work from Home มาแล้ว น้อยคนนักที่อยากกลับไปนั่งทำงานที่ออฟฟิศ เนื่องด้วยการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในการเดินทาง บางรายอาจจะกำหนดเวลาทำงานเองได้ แม้ว่าอาจมีทำงานนอกเวลางานก็ตาม แต่ก็แทบไม่มีความกดดันจากที่ทำงาน หลายบริษัทยกเว้นบริษัทที่เกี่ยวข้องทางการเงินจึงยังคงการ Work from Home แต่อาจจะมีการจัด Meeting หรือประชุมบ้างเป็นครั้งคราวตามวาระ เพื่อพบปะสังสรรค์และอัพเดตงาน
สถานที่ทำงานมีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนเป็น Co-Working Space
ก่อนหน้านี้หลาย ๆ บริษัทขนาดเล็กอาจจะเคยมีบรรยากาศการทำงานแบบ Co-Working กันมาบ้าง จึงอาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อปรับตัวเรื่องพื้นที่ของสถานที่ทำงาน แต่บริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดใหญ่ อาจจะมีผลกระทบมากกว่า เนื่องจากบริษัทไม่ได้มีพนักงานมาทำงานที่บริษัท แต่ยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเช่าพื้นที่หรือค่าบำรุงอยู่เป็นเนือง ๆ ทำให้พื้นที่ของบริษัทไม่เกิดประโยชน์แถมยังเสียประโยชน์ หลายบริษัทจึงลดขนาดพื้นที่ลงให้เหลือเฉพาะฝ่ายที่จำเป็น หรือปล่อยให้เช่าเพื่อทำ Co-Working Space ในอนาคต Co-Workimg Space จึงน่าจะผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเลยทีเดียว เพราะความสะดวกสบายในการทำงานรวมทั้งการประหยัดค่าใช้จ่ายของแต่ละบริษัท
เกิดการจ้าง Outsource มากขึ้น
หลังจากเกิดเหตุการณ์โควิด 19 หลาย ๆ บริษัทต้องปิดตัว หรือลดจำนวนพนักงานประจำลงเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้เกิดอัตราการตกงานมากขึ้น ในทางกลับกันการจ้าง Outsource หรือการจ้างพนักงานแบบชั่วคราว จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะหลาย ๆ ที่จะให้ค่าตอบแทนเป็นงาน ๆ ไป ไม่ใช่เงินเดือน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินลักษณะนี้ที่ส่งผลให้ไม่มีงาน บริษัทจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเดือน พนักงานเหล่านั้นจึงต้องผันตัวไปทำอาชีพพนักงานอิสระหรือฟรีแลนซ์มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะไม่ทำสัญญาผูกมัด จึงเกิดความยุติธรรมต่อทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง รวมทั้งลูกค้า
ผู้คนสามารถทำงานหลากหลายมากขึ้น
หลาย ๆ คนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น และได้ทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่ตนเองชอบ จะเห็นได้ว่าหลายคนอาจะพบพรสวรรค์และกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ตัวเองชอบและถนัด ไปจนถึงสามารถหาเลี้ยงชีพในช่วงโควิดได้ ซึ่งอาจะได้รายได้มากกว่าการทำงานเป็นพนักงานเงินเดือนเสียด้วยซ้ำ หรือบางคนค้นพบทักษะของตัวเองพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ด้าน ก็สามารถใช้ความสามารถนั้นจนเกิดประโยชน์และรายได้ไปพร้อม ๆ กัน เช่น บางคนอาจะ Work from Home และรับงานเสริมในการขายอาหาร หรือรับ-ส่งอาหาร ไปพร้อม ๆ กันได้ ก่อให้เกิดการได้รายได้หลายทาง ซึ่งไม่สามารถทำได้ หากเราทำงานงานเดียวที่บริษัท
Technology จำเป็นสำหรับทุกคน
เห็นได้ว่า Technology เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับคนทุกช่วงวัย บางคนที่แม้จะเกิดในยุคอนาล็อก และคิดว่าเทคโลยีในยุคดิจิตัลไม่จำเป็น แทบจะกลับคำพูดไม่ทัน เนื่องจากผู้บริหารระดับสูง หรือจะเห็นได้จากตัวอย่างในสถาบันการศึกษา ครู อาจารย์ที่ค่อนข้างมีอายุยังต้องหันมาเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมที่จะช่วยเอื้อและอำนวยความสะดวกต่อการทำงาน รวมทั้งเด็กนักเรียน ผู้ปกครองในพื้นที่ห่างไกล ต้องคอยพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการศึกษา แม้อาจจะพบว่าหลาย ๆ พื้นที่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ค่อยมีประสิทธิผล และเป็นปัญหาหนัก แต่มันก็คงดีกว่าการไม่เริ่มเรียนรู้เลย เพราะแน่นอนในอนาคต ประชากรบนโลกแทบจะ 100% ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการดำรงชีวิต รวมทั้งการทำงาน
ไม่เรียนต่อปีนี้ ทำอะไรดีล่ะ? รวมกิจกรรมน่าทำระหว่างรอไปเรียนต่อปีหน้าหรือปีอื่นๆ
ทุนเรียนต่อสำหรับคนทำงานที่อยากกลับไปเรียน
รวม 4 ประเทศยอดฮิตสำหรับคนอยากทำงานเมืองนอก
ฟังประสบการณ์การเรียนต่อมหาวิทยาลัยในยุค COVID-19 แบบอินไซต์กัน!
Source; Deloitte