
สำหรับคนที่อยากไปเรียนต่อต่างประเทศและอยากรับราชการแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอก็คือมหาลัยที่เราอยากไปเรียนต่อ สำนักงานก.พ. จะรับรองวุฒิการศึกษามั้ยนะ? วันนี้ Hotcourses จะพาไปดูว่าแต่ละประเทศมีการรับรองมหาลัยยังไงกันบ้าง
การรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ
สำหรับคนที่จบการศึกษาต่างประเทศ ก.พ. จะรับรองวุฒิการศึกษาที่เรียนแบบเต็มเวลา (Full-time) จากสถาบันการศึกษา/มหาลัยที่ได้รับรองวิทยาฐานะจากหน่วยงานตามกฎหมายในประเทศนั้น ๆ
Note: การรับรองวิทยาฐานะ คือ สถาบันการศึกษา/มหาลัยที่จัดการเรียนการสอนได้ถามวัถตุประสงค์ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เอาง่ายๆ คือ สามารถสอนหลักสูตรปริญญาในแต่สาขาและระดับได้นั่นแหฃะ
ส่วนเกณฑ์ที่ใช้รับรองคนจบการศึกษาจากต่างประเทศนั้น ก.พ. มีหลักเกณฑ์ว่าถ้าจบจากสถาบัน/มหาลัยที่ประเทศนั้นๆ รับรอง ก.พ.ก็จะรับรองบรรจุให้ได้จ้า
ประเทศและมหาลัยในประเทศนั้นๆ ที่ก.พ. มีการรับรองวิทยาฐานะ
เกาหลีใต้ - Republic of Korea (South Korea)
แคนาดา - Canada อ่านรายละเอียดการพิจารณารับรองวุฒิและกำหนดเงินเดือนได้ที่นี่
ญี่ปุ่น - Japan อ่านรายละเอียดการพิจารณารับรองวุฒิและกำหนดเงินเดือนได้ที่นี่
นิวซีแลนด์ - New Zealand อ่านรายละเอียดการพิจารณารับรองวุฒิและกำหนดเงินเดือนได้ที่นี่
บรูไนดารุสซาลาม - Brunei Darussalam
สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน - Germany
สหราชอาณาจักร - United Kingdom อ่านรายละเอียดการพิจารณารับรองวุฒิและกำหนดเงินเดือนได้ที่นี่
สาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) - Slovak Republic
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ - Myanmar
ออสเตรเลีย - Australia อ่านรายละเอียดการพิจารณารับรองวุฒิและกำหนดเงินเดือนได้ที่นี่
การรับรองวุฒิจากสถาบันในอเมริกา
เพราะอเมริกามีการปกครองเป็นมลรัฐ ทำให้การรับรองวิทยาฐานะมหาลัยและรับรองวุฒิขึ้นอยู่กับกฎหมายแต่ละรัฐ การรับรองวิทยฐานะจึงต้องทำเป็นภูมิภาค โดยจะรับรองระดับภูมิภาคโดย 6 สมาคมและองค์กรระดับชาติอีก 2 องค์กร โดยสามารถแบ่งตามภูมิภาคได้ดังนี้
1. สถาบัน Middle State Association of Colleges and Schools,Commission on Higher Education (MSA) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาในรัฐ Delaware, District of Columbia, Maryland, New Jersey, New York, Pennsylvania, Puerto Rico, U.S. Virgin Islands
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.msche.org หัวข้อ Members & Candidates : Directory
2. สถาบัน Northwest Commission on Colleges and Universities (NASC) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาในรัฐ Alaska, Idaho, Montana, Nevada, Oregon, Utah, Washington
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.nwccu.org หัวข้อ Directory of Institutions
3. สถาบัน North Central Association of Colleges and Schools, The Higher Learning Commission (NCA) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาในรัฐ Arizona, Arkansas, Colorado, IIIinois, Indiana, Iowa, Kansas, Michigan, Minnesota, Missouri, New Mexico, Nebraska, North Dakota, Ohio, Oklahoma, South Dakota, West Virginia, Wisconsin, Wyoming
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.ncahigherlearningcommission.org หัวข้อ Directory of Institutions
4. สถาบัน New England Association of Schools and Colleges (NEASC) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาในรัฐ Connecticut, Maine, Massachusetts, New Hampshire, Rhode Island, Vermont
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.neasc.org หัวข้อ CIHE (Institutions of Higher Education) : Accredited and Candidate Institutions
5. สถาบัน Southern Association of Colleges and Schools (SACS) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาในรัฐ Alabama, Florida, Georgia, Kentucky, Louisiana, Mississippi, North Carolina, South Carolina, Tennessee, Texas, Virginia
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.sacscoc.org หัวข้อ Commission on Colleges : Institutional Membership Information
6. สถาบัน Western Association of Schools and Colleges (WASC) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาในรัฐ California, Hawaii, Guam
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.wscweb.orgหัวข้อ The Senior College Commission : Directory หรอ Accreditation
7. สถาบัน Accrediting Council for Independent Colleges and Schools (ACICS) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะสถาบันการศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนด้านธุรกิจ
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.acics.org หัวข้อ Resources : School Directory
8. สถาบัน Accrediting Commission of Career Schools and Colleges of Technology (ACCSCT) ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะ สถาบันการศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนด้านการค้าและด้านเทคนิค
สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ www.accsct.org หัวข้อ Resources : Directory : School Directory
ถ้าเข้าไปเช็คแล้ส สถานะ (Status) ต่างๆ จะมีดังนี้
- Accredited ได้รับการยอมรับ
- Accredited (On Notice) สถาบันกำลังดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินการซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์สำหรับการรับรองระบบอย่างน้อยหนึ่งข้อ (ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้จะไปสู่ระดับ Probation)
- Accredited (Probation) สถาบันไม่ได้เป็นไปตามเกณฑ์สำหรับการรับรองระบบอย่างน้อยหนึ่งข้อ
- Inactive-Merged ถูกควบรวมกิจการ ภายใต้การดำเนินการของที่อื่น
- Inactive-Withdrawn คือโดนถอดถอนไปแล้ว
- Inactive-Resigned ปิดไปแล้ว
- Candidate สถาบันการศึกษายังไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะสถาบัน
นอกจากนี้ยังมีการรับรองวิทยฐานะของสาขาวิชาชีพด้วย สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเต็มๆ ได้ที่นี่
สรุป...ต้องเรียนมหาลัยที่ก.พ. รับรองมั้ย?
สำหรับใครที่อยากทำงานสายราชการ จำเป็นจ้า จำเป็นมากๆ ด้วย ส่วนคนที่มุ่งทำงานในภาคเอกชนก็ไม่ต้องกังวลเนอะ
สำหรับคนที่อยากรับราชการ การที่สำนักงานก.พ. ต้องรับรองวุฒิการศึกษาเพื่อกำหนดการบรรจุตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการนั่นเอง
แต่ละตำแหน่งก็จะกำหนดไว้แล้วว่าต้องใช้คนที่มีวุฒิสาขาใด ทางใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ แถมยังเป็นการกำหนดเงินเดือนที่จะได้ด้วย
โดยก.พ. จะรับรองคุณวุฒิเป็น ‘สาขา’ และ ‘ทาง’ (โดยอาจไม่ตรงกับชื่อหรือสาขาที่เราใช้ที่มหาลัยก็ได้)
สาขา คือกลุ่มสาขาวิชาการศึกษาใหญ่ๆ เช่น เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ฯลฯ
ทาง คือ สาขาวิชาเอกที่เราเรียน เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมชลประทาน ฯลฯ
สมมติได้ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอก วิศวกรรมโยธา ผลการรับรองก็จะเป็น คุณวุฒิสาขา"วิศวกรรมศาสตร์" ทาง “วิศวกรรมโยธา" เป็นต้น