
ความ PM 2.5 ยังไม่ทันหาย ความอันตรายของไวรัสวัยร้ายโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019และ ก็เข้ามาแทรก ช่วงนี้มันเป็นอะไรก๊าน
แน่นอนว่าเรื่องใหญ่ขนาดนี้ก็กลายเป็นปัญหาระดับโลก ชนิดที่ต้องขอแรงหน่วยงานจากทุกสารทิศ หลากหลายประเทศ มาระดมสมองช่วยกันหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน พี่ไทยของเราเองก็ฝากความหวังไว้กับบุคลากรทางการแพทย์ระดับพระกาฬหลายๆ ท่าน ส่วนพวกเราก็ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากป้องกันกันต่อไป และขอส่งแรงใจไปให้ผู้ป่วยทุกคน หายไวๆ กันด้วยนะคะ
และก็เพราะหน่วยงานต่างๆ กำลังสนใจเรื่องนี้กันอย่างมาก ช่วงนี้เราเลยได้เห็นหน่วยงานนานาชาติออกมาช่วยนั่นนี่ และแสดงความคิดเห็นกันเพียบ ซึ่งบางทีเราเห็นแล้วก็คิด โอ้โห ในใจว่าหน่วยงานใหญ่ๆ แบบนี้นี่แลดูเท๊เท่ อยากเข้าไปทำงานในนั้นมั่งจัง
สำหรับใครที่มีฝันคล้ายๆ กันแบบนี้ ขอแนะนำให้อ่านบทความวันนี้ให้จบนะคะ เพราะวันนี้เราจะมาบอกวิธีว่าทำยังไงถึงจะได้ทำงานในหน่วยงานนานาชาติกัน มาดูกันเลย
องค์กรระหว่างประเทศหรือนานาชาติคืออะไร?
องค์กรระหว่างประเทศหรือนานาชาติก็คือหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือการช่วยเหลือผู้คน สิ่งแวดล้อม หรือสัตว์ที่กำลังประสบปัญหาหรือขาดแคลนสิ่งจำเป็น ส่วนใหญ่องค์กรเหล่านี้จะเน้นให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่กำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา โดยที่เค้าจะมีทั้งทีมวิจัยต่างๆ และมีการวางแผนกลยุทธ์อย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าการช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์กรเหล่านี้มีหลายประเภทค่ะ เช่น
-
Charities
-
Non-governmental organisations (NGOs)
-
Government development departments
-
United Nations organisations
-
Universities and academic research
-
Think tanks
-
Consultancies
ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศหรือนานาชาติเป็นยังไงบ้าง และมีข้อดียังไง?
มาพูดถึงข้อดีกันก่อนเนอะ
-
ส่วนใหญ่จะให้เงินเดือนค่อนข้างดีถึงดีมาก มีการให้เงินเดือนเพิ่มอยู่เรื่อยๆ ด้วย อย่างเช่น United Nation (UN) นี่ให้เงินเดือนเพิ่ม 6% เกือบทุกปี
-
สวัสดิการดี วันหยุดเยอะ (บางองค์กรคือได้ทั้งวันหยุดราชการไทยและวันหยุดสากลไปอีก) ที่เคยเห็นก็ลาได้ 30 วันต่อปี เป็นต้น แถมยังเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายนั่นนี่ได้ บางที่ก็ให้ค่าลาคลอด มีประกันสุขภาพให้ด้วยค่ะ
-
ยังไม่นับเรื่องลาป่วย ที่ส่วนใหญ่ก็อนุญาตให้ลาป่วยได้หลายวัน ส่วนใหญ่ก็ราวๆ 20-24 วันต่อปีนั่นเลยค่ะ
-
ทำงานจบไปแล้ว CV เราจะสวยเริ่ดมาก เพราะองค์กรเหล่านี้เป็นที่รู้จักระดับโลก
ส่วนเรื่องที่ต้องพูดถึงก็คือ โดยปกติแล้วการจ้างงานในองค์กรแบบนี้จะเป็นแบบชั่วคราว (fixed-term) ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 ปี บางคนก็จะได้ต่อสัญญาไปเรื่อยๆ แต่ไม่ค่อยจะได้งานแบบถาวร (permanent) ค่ะ ถึงจะฟังดูไม่ค่อยเย้ายวนใจ แต่จริงๆ แล้วแค่ได้ทำงาน 1-2 ปีในองค์กรใหญ่ระดับนี้ CV ของเราก็สวยหรูสุดๆ แล้วค่ะ ไปสมัครงานที่อื่นต่อได้สบาย
มีงานแบบไหนบ้างที่เราเข้าไปทำได้?
งานในองค์กรเหล่านี้ค่อนข้างหลากหลายค่ะ แต่หลักๆ จะแบ่งออกเป็น
-
งานด้านการวิจัย
-
ตามชื่อเลยค่ะ งานจะเน้นไปทางการวิจัย สำรวจความคิดเห็นและปัญหาต่างๆ แล้ววิเคราะห์ออกมาให้เป็นบทสรุปที่น่าเชื่อถือ มีตัวเลขหรือรายงานรองรับ คนที่ทำงานด้านนี้อาจไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวกับการวิจัยโดยตรงก็ได้ แต่ต้องมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อนค่ะ
-
-
งานเฉพาะทาง โดยเฉพาะด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์
-
ข้อนี้เหมาะกับคนที่เรียนมาเฉพาะทางค่ะ เพราะหลายๆ หน่วยงานต้องพึ่งพาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข หรือวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ สำคัญหมดเลยค่ะ ลองเปิดหาดูงานในองค์กรระหว่างประเทศได้เลย เค้ารับอยู่เรื่อยๆ ค่ะ
-
- งานด้าน support และ admin
- ข้อนี้กว้างมากค่ะ คือคอยช่วยประสานงานหรือทำหน้าที่เฉพาะไปเลย มีตั้งแต่เป็นเจ้าหน้าที่การตลาดและติดต่อสื่อสาร หรือจะเป็นนักบัญชีคอยดูแลเรื่องการเงิน ไปจนถึงงานด้านฝ่ายบุคคล เค้าก็ต้องการทั้งนั้นค่ะ
- ข้อนี้กว้างมากค่ะ คือคอยช่วยประสานงานหรือทำหน้าที่เฉพาะไปเลย มีตั้งแต่เป็นเจ้าหน้าที่การตลาดและติดต่อสื่อสาร หรือจะเป็นนักบัญชีคอยดูแลเรื่องการเงิน ไปจนถึงงานด้านฝ่ายบุคคล เค้าก็ต้องการทั้งนั้นค่ะ