
จะสมัครเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์อย่างไร
สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือรู้ว่าระบบการสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเป็นอย่างไรโดยเฉพาะประเทศที่คุณต้องการจะไปเรียนต่อ ไม่มีใครอยากจะพลาดในการสมัครเรียนต่อจากการถูกปฏิเสธเอกสารเพียงเพราะเอกสารไม่ครบ ดังนั้นคุณต้องเข้าใจก่อนว่าระบบการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยนั้นเป็นยังไง หลังจากนั้น เราแนะนำว่าให้คุณลองติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยที่คุณสนใจดูเพื่อรายละเอียดท่มากขึ้นเพราะแต่ละแห่งก็มีข้อกำหนดและระบบการสมัครที่ต่างกันออกไป
เพื่อที่จะช่วยให้คุณสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์ได้ง่ายขึ้น เรามีไกด์ฉบับย่อที่รวมทุกอย่างที่ต้องรู้ในการสมัครเรียนต่อในประเทศฟินแลนด์
สิ่งที่จะต้องหาข้อมูลเพื่มก่อนจะสมัคร
เมื่อคุณตัดสินใจว่าจะเรียนหลักสูตรไหนแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือดูวันสิ้นสุดการรับสมัครและคุณสมบัติที่ต้องการ เว็บ The Study Finland เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในการเริ่มหาวันสิ้นสุดการรับสมัครของมหาวิทยาลัยด้วยการใช้เครื่องมือเสิร์ชที่สะดวก
ถ้าคุณไม่แน่ใจในรายละเอียด ก็ไม่ต้องกลัวที่จะเข้าไปปรึกษากับสำนักงานด้านต่างประเทศของมหาวิทยาลัยที่คุณสนใจ คำถามที่จะถามเช่น
-
หลักสูตรที่จะเข้านั้นต้องการคุณสมบัติอะไรบ้าง
-
มีวันสิ้นสุดกำหนดการอื่นๆอีกไหม
-
เอกสารอะไรที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ
-
มีทุนอะไรที่สามารถยื่นเรื่องขอได้ไหม
คุณมีคุณสมบัติที่จะได้ไปเรียนต่อในฟินแลนด์ไหม
ถ้าคุณมองที่จะยื่นสมัครเข้าในหลักสูตรสำหรับปริญญาบัณฑิต คุณจะต้องมีมีคุณวุฒิดังนี้
International Baccalaureate (IB) Diploma
European Baccalaureate (EB) Diploma
คุณวุติจากประเทศไทยหรือต่างประเทศที่จะทำให้สามารถเข้าเรียนต่อในระดับการศึกษาขั้นสูงต่อได่ทั้งในประเทศและประเทศที่จะให้คุณวุฒิ
นักศึกษาจะได้รับการเลือกจากเกรดและการทำคะแนนจากการสอบเข้าหรือทั้งคู่
ถ้าคุณสมัครเข้าโปรแกรมปริญญาโท คุณจะต้องมีคุณวุฒิปริญญาตรีหรือ หรือคุณวุฒิที่คล้ายกัน ผู้สมัครจะต้องมีประสบการณ์การทำงานสามปีหลังจบปริญญาตรี
จะต้องมีเอกสารอะไรในการสมัครเรียนต่อที่ฟินแลนด์บ้าง
ทุกมหาวิทยาลัยมีเอกสารที่ต้องการไม่ต่างกัน โดยทั่วไปแล้วคุณจะต้องส่งทรานสคริปและใบรับรอง เช่น ใบผ่าน O Levels, A levels นอกจากนั้นยังต้องมีการรับรองใบรับรองเหล่นี้ว่าเป็นของจริง
ประเภทของการสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์
การสมัครรวม Joint application
คุณสามารถเลือกสมัครถึงหกโปรแกรมที่อยากจะสมัครด้วยใบสมัครแบบ joint application แล้วคุณจะต้องเขียนรายชื่อหลักสูตรตามที่คุณต้องการ โดยอันดับนี้จะพิจารณาตามนี้หลังจากการสมัครปิดแล้ว
การสมัครแยก Separate application
กระบวนการนี้หมายถึง การให้คุณกรอกใบสมัครแยกสำหรับหลักสูตรต่างๆ การสมัครแยกนั้นคือการสมัครตรงกับหลักสูตรเลย แล้วแต่ว่ามหาวิทยาลัยนั้นๆจะรับเอกสารอย่างไร คุณอาจจะกรอกเอกสารชุดเดียวในการสมัครหลายหลักสูตรได้ในการสมัครเพียงครั้งเดียวและในการสมัครอื่นๆคุณอาจจะต้องกรอกเอกสารหลายชุดในการสมัครหลายหลักสูตรในสถาบันเดียวกัน
สามารถเริ่มสมัครได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
มีการยื่นสมัครได้สองรอบสำหรับมหาวิทยาลัยของฟินแลนด์ รอบแรกเริ่มตั้งแต่ช่วงต้นมกราคมและจบในช่วงกลางเดือน และรอบที่สองเปิดตั้งแต่กลางมีนาและจบในช่วงต้นเมษา เอกสารสมัครควรเขียนขึ้นสำหรับแต่หลักสูตรที่จะสมัครต่างกัน
การสมัครสำหรับปริญญาตรีในช่วงเดือนมกราคมของ University of Applied Sciences (UAS) , ปริญญาตรี, ปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยด้านศิลปะ หลักสูตรเหล่านี้จะสอนเป็นภาษาอังกฤษ และช่วงนี้ก็หมายความว่าจะเริ่มในฤดูใบไม้ร่วง แต่ก็อย่างไรก็ตามโปรแกรมปริญญาตรีที่เริ่มในเดือนมกรา จะเริ่มสมัครได้ในเดือนกันยายน
การสมัครในเดือนมีนาคมที่เน้นปริญญาตรี และปริญญาโทที่ UAS และจะสอนเป็นภาษาฟินนิชหรือ สวีดีช
นอกจากนี้มีปริญญาบางหลักสูตรที่จะเปิดให้สมัครได้นอกรอบต่างหากด้วย
หลังจากเอกสารทั้งหมดได้ถูกจัดการไปตามกระบวนการแล้ว มหาวิทยาลัยจะออกจดหมายตอบรับอย่างเป็นทางการแก่ผู้เข้าร่วม ผลจะมักจะถูกประกาศประมาณเดือนมิถุนายน จำไว้ว่าคุณจะต้องตอบจดหมายตอบรับดังกล่าว ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้คุณทราบต่อไปว่าจะทำอย่างไร
นักศึกษาจะได้รับอนุญาตให้ตอบรับที่เรียนแห่งเดียวต่อหนึ่งเทอมเท่านั้น หมายความว่าคุณจะไม่สามารถตอบรับมหาวิทยาลัยอื่นที่เริ่มในเทอมเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณได้ตอบรับมหาวิทยาลัยที่สมัครแยกไปต่างหากแล้ว ก็จะไม่สามารถตอบรับมหาวิทยาลัยที่ สมัครแบบ Joint Application ได้ถ้าหลักสูตรนั้น เริ่มในปีการศึกษาเดียวกัน
คุณยังสามารถสมัครเข้าหลักสูตรอื่นๆในระดับป.ตรีอย่าง IB หรือ EB ได้ในฟินแลนด์ผ่านทางกระบวนการแบบ Joint Application ส่วนที่ต่างออกไปคือจะต้องส่งเอกสารไปยังมหาวิทยาลัยเอง
สถานะเอกสารสำหรับการสมัครมหาวิทยาลัยในฟินแลนด์
เมื่อสิ้นสุดกำหนดรับสมัคร Joint Application สถานการณ์สมัครของคุณอาจจะเป็นได้ดังนี้ :
- Accepted
-
Accepted (a condition set by the university)
-
Accepted (waiting for results from your higher preferences)
-
On a waiting list
-
Cancelled/Did not receive a study place
ถ้าคุณได้รับการตอบรับก็ขอแสดงความยินดีด้วย! สิ่งที่ต้องทำก็แค่ตอบกลับไปเพื่อยืนยันการเข้าเรียน
ถ้าคุณได้เงื่อนไขที่ถูกกำหนดไว้โดยมหาวิทยาลัย หมายความว่าถ้าจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ก็จะต้องทำตามเงื่อนไขให้ได้เสียก่อน ตัวอย่างเช่น ถ้าเกรดสุดท้ายยังไม่ออกระหว่างการสมัคร หรือ เกรดต่ำกว่าที่กำหนด ก็จะไม่สามารถเข้าเรียนต่อได้
ถ้าการสมัครของคุณได้สถานะ “รอผลจากตัวเลือกที่สูงกว่า” หมายความว่าคุณจะต้องรอให้มหาวิทยาลัยที่คุณเลือกไว้ในลำดับที่สูงกว่าแสดงผลก่อนที่คุณจะตอบรับมหาวิทยาลัยในลำดับดังกล่าวได้
ถ้าคุณอยู่ใน waiting list คุณจะถูกรับเข้าเรียนก็ต่อเมื่อคนก่อนหน้าคุณไม่ยืนยันคำตอบรับของมหาวิทยาลัยนั้น
คุณจะต้องสอบเข้าไหม?
ในฐานะเป็นผู้ที่มีสิทธิเข้าเรียน คุณอาจจะต้องสอบเข้า การสอบเหล่านี้มักจะถูกจัดขึ้นในฟินแลนด์ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีตัวเลือกที่จะสามารถให้คุณสอบในขณะอยู่นอกประเทศฟินแลนด์ได้ ตรวจสอบกับฝ่ายบริการรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัย หรือ UAS ที่คุณกำลังจะสมัครเข้า พวกเขาจะบอกคุณได้ว่าคุณจะสามารถสอบในไทยได้หรือไม่
จะขอวีซ่าอย่างไร
สำหรับนักเรียนไทยที่ถือวีซ่าไทย จะต้องขอวีซ่าผ่านทางสถานกงสุลของฟินแลนด์ แต่ถ้าเป็นนักเรียนไทนที่ถือวีซ่าของประเทศที่เป็นสมาชิก EU แล้วจะมีกระบวนการที่ต่างออกไป
อ่านเรื่องการขอวีซ่านักเรียนฟินแลนด์ได้ที่นี่
ขอแนะนำสำหรับการสมัคร
ให้เวลามากๆในการค้นหาว่าหลักสูตรใดที่คุณสนใจและจะไปเรียนที่ไหน ติดต่อ Internation Office ของมหาวิทยาลัยที่สนใจเพื่อหาเกี่ยวกับหลักสูตรและทุนการศึกษา (ที่อาจจะมีให้สมัคร) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่
ให้พยายามจดบันทึกวันสิ้นสุดกำหนดการสมัครและสิ่งที่แต่ละหลักสูตรต้องการ สมัครให้ตรงเวลาและจัดเวลาเพื่อให้ตัวคุณพร้อมสำหรับการสอบต่างๆที่จะต้องทำ อย่าลังเลที่จะตรวจสอบกับหน่วยงานที่รับเข้าถ้ามีอะไรที่ไม่แน่ใจ
ตื่นเต้นที่จะไปเรียนต่อที่ฟินแลนด์แล้วหรือยัง เริ่มหามหาวิทยาลัยในฟินแลนด์เลย!