เรียนสังคมวิทยาต่างประเทศ

เกี่ยวกับวิชานี้

  • เกี่ยวกับวิชานี้
  • สาขานี้เหมาะกับใคร
  • อาชีพและโอกาสงานในอนาคต
  • การสมัครเรียนสาขาสังคมวิทยา
  • 1
Sociology

สังคมวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสังคมของมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมหลายหัวข้อตั้งแต่การพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณี ไปจนถึงการตีความทัศนคติทางวัฒนธรรม เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังประเด็นเหล่านี้ มีที่มาจากนักปรัชญาคนสำคัญของโลกหลายคน รวมถึงเพลโต ที่ได้อธิบายพื้นฐานกฎระเบียบข้อบังคับของสังคม และทำการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ทางสังคมเอาไว้หลายหัวข้อ

คำว่าสังคมวิทยา (Sociology) ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1780 เพื่ออธิบายถึงการเรียนเกี่ยวกับสังคม โดย Emmanuel Joseph Steynes นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ซึ่งนำคำนี้มาจากคำว่า Socius ในภาษาละตินที่มีความหมายว่า มิตรสหาย ทุกวันนี้หัวข้อในการศึกษาสาขาวิชาสังคมวิทยามีความกว้างมาก ทั้งเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ และความเชื่อมโยงที่วิชาสังคมมีกับวิชาอื่นๆ อย่างเช่น กฎหมาย วรรณกรรม ประวัติศาสตร์ และปรัชญา

สาขานี้เหมาะกับใคร

หากคุณหลงใหลในการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ มีความสนใจใครรู้ในเรื่องโครงสร้างทางสังคม รวมถึงเหตุผลในการกระทำต่างๆ และตรรกะบางของมนุษย์ สาขาวิชาสังคมวิทยาก็น่าจะเหมาะกับคุณเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนหนึ่งของคอร์สนี้จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับบริบททางประวัติศาสตร์และบริบททางกฎหมาย และทำความเข้าใจความแตกต่างของที่มาความเชื่อในแต่ละศาสนศาสตร์ ซึ่งกลายมาเป็นพื้นฐานความเชื่อหลักของคนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความสนใจในเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง จึงจะประสบความสำเร็จในการเรียนวิชานี้ได้

การประเมินผลของหลักสูตรนี้ ส่วนใหญ่จะประเมินจากแบบฝึกหัดเขียนความเรียงและการสอบ และถึงแม้ชั่วโมงเรียนของสาขาวิชาสังคมวิทยาจะน้อยกว่าสาขาวิชาอื่น อย่างเช่นพวกสายวิทยาศาสตร์ แต่ผู้เรียนก็มีงานที่ได้รับมอบหมายนอกห้องเรียนมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่แข็งแกร่ง มีแรงจูงในการติดตามเนื้อหารายวิชา มีความสามารถในการศึกษาอย่างอิสระด้วยตัวเอง และสามารถอ่านตำราที่สำคัญต่อการเรียนได้โดยไม่เบื่อหน่าย

อาชีพและโอกาสงานในอนาคต

ศิษย์เก่าสาขาวิชาสังคมวิทยาส่วนใหญ่ เลือกเรียนสาขาวิชานี้เพราะเป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจ ส่วนในแง่ของการทำงานนั้น ถึงแม้วิชาสังคมวิทยาอาจจะไม่ได้เป็นวิชาชีพที่เฉพาะเจาะจงมากนัก แต่บัณฑิตก็มีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลายทีเดียว

อาชีพที่ได้รับความนิยมจากบัณฑิตสาขาวิชาสังคมวิทยา คือการทำงานสายสังคมอย่างเช่น เป็นนักวิจัยทางสังคม ทำหน้าที่รวบรวมสถิติต่างๆ ในหัวข้อที่เป็นจำเป็นต่อการพัฒนาชุมชน หรือทำงานด้านการดูแลสังคม ดูแลเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ผู้ที่สนใจทำงานด้านธุรกิจ โดยเฉพาะในบทบาทอาชีพที่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน อย่างเช่น พนักงานในแผนกขาย แผนกทรัพยากรมนุษย์ หรือ แผนกประชาสัมพันธ์ ก็สามารถทำได้และเป็นที่นิยมในหมู่ศิษย์เก่าไม่น้อย สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานที่เฉพาะทางมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น เรียนต่อคอร์ส Graduate Diploma in Law (GDL) เพื่อผันตัวไปทำงานด้านกฎหมาย หรือเรียนต่อคอร์สสำหรับเป็นนักวารสารศาสตร์ หรือทำงานด้านการสอน ก็สามารถทำได้เช่นกัน

การสมัครเรียนสาขาสังคมวิทยา

หลักสูตรสังคมวิทยามีมหาวิทยาลัยให้เลือกเรียนเป็นจำนวนมาก ในระดับปริญญาโท จะใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 1 ปี ส่วนในระดับปริญญาตรีจะใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 3 ปี บางคอร์สอาจขยายเวลาการเรียนเพิ่มขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนกับ Erasmus (European Community Action Scheme for the Mobility of University Students) เพื่อหาประการณ์เพิ่มเติม หรือฝึกปฏิบัติงานในระหว่างปีที่ 2 และ 3 ของหลักสูตร

เกณฑ์การรับสมัครส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาที่เลือกและระดับการศึกษา ในระดับปริญญาโทผู้สมัครจะต้องมีผลการเรียนระดับ 2:1 ขึ้นไป ส่วนในระดับปริญญาตรี ผู้สมัครจะต้องมีผลการเรียนระดับ 3 A-levels ขึ้นไปในวิชาด้านมนุษยศาสตร์ หรือเทียบเท่าสำหรับนักเรียนจากประเทศที่ใช้ระบบการศึกษาต่างจากประเทศอังกฤษ

หากต้องการเรียนต่อในประเทศอังกฤษ ผู้มาจากประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก จะต้องสอบ IELTS ได้อย่างน้อย 6.0-6.5 คะแนนขึ้นไป สาขาวิชาสังคมวิทยาจะประเมินผลผู้เรียนผ่านงานเขียนตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายและการสอบเป็นสำคัญ นักศึกษาจึงต้องเข้าฟังแลคเชอร์อย่างสม่ำเสมอ และพร้อมทำงานหนักนอกเวลาเรียน จึงจะประสบความสำเร็จในการเรียนวิชานี้

1

Cambridge, Durham และ Bath University คือสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีชื่อเสียงด้านสาขาวิชาสังคมวิทยาในประเทศอังกฤษ ซึ่งชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับสาขาวิชาที่ไม่ได้ใช้ทักษะเฉพาะทางในด้านการปฏิบัติมากนัก หากเกรดของคุณสูงมากพอ คุณควรพิจารณามหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านี้ไว้เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ หรือหากเกรดของคุณต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย คุณอาจลองมองหามหาวิทยาลัยคุณภาพดี มีหลักสูตรการเรียนการสอนน่าสนใจ ที่กำหนดเกณฑ์ไว้ต่ำลงมา

อย่าลืมคำถึงค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันด้วย คุณควรลองลิสต์ค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกมา และประเมินสถานการณ์ว่าคุณจะสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้หรือไม่ หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ควรมองหามหาวิทยาลัยที่มีทุนสนับสนุนแก่นักศึกษาขาดแคลนเอาไว้เป็นทางเลือกหนึ่ง

หน่วยงานที่ต้องการบุคลากรด้านสังคมวิทยาส่วนใหญ่ มักมองหาบัณฑิตที่มีประสบการณ์ทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง ดังนั้นในระหว่างเรียนคุณควรมองหาคอนเนคชั่นที่เกี่ยวข้องกับงานในอนาคตไว้ด้วย มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานด้านสังคมวิทยาหลายแห่ง และสนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสได้เข้าไปฝึกงานภาคฤดูร้อน ซึ่งทางบริษัทก็มักจะรับบุคลากรเข้าทำงาน โดยพิจารณาจากนักศึกษาที่เคยเข้ามาฝึกงาน และมีผลงานเป็นที่น่าพอใจไว้เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ

สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม คุณควรเลือกเมืองให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวเอง โดยการศึกษาสถิติและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย และหากเป็นไปได้ควรเดินทางไปสำรวจสถานที่จริงภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงบริเวณโดยรอบก่อนตัดสินใจยื่นใบสมัคร เพื่อความมั่นใจว่าคุณจะสามารถอยู่ที่นั่นได้อย่างมีความสุข

ท๊อป 10 ประเทศเรียนต่อด้านสังคมวิทยา

1
9
ออสเตรเลีย
เข้าชม3,926ครั้ง ดู 89 หลักสูตร
2
210
อังกฤษ สหราชอาณาจักร
เข้าชม2,648ครั้ง ดู 187 หลักสูตร
3
211
อเมริกา
เข้าชม1,097ครั้ง ดู 721 หลักสูตร
4
134
นิวซีแลนด์
เข้าชม998ครั้ง ดู 15 หลักสูตร
5
32
แคนาดา
เข้าชม964ครั้ง ดู 95 หลักสูตร
6
154
ไอร์แลนด์
เข้าชม143ครั้ง ดู 20 หลักสูตร
7
114
มาเลเซีย
เข้าชม120ครั้ง ดู 17 หลักสูตร
8
131
เนเธอร์แลนด์
เข้าชม112ครั้ง ดู 11 หลักสูตร
9
168
สิงคโปร์
เข้าชม106ครั้ง ดู 4 หลักสูตร
10
84
ฮ่องกง
เข้าชม85ครั้ง ดู 9 หลักสูตร

ติดต่อเรื่องเรียนต่อ