
หลักสูตรศิลปะ (Fine Art) เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่นักศึกษานิยมศึกษาต่อในต่างประเทศ เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพื่อเปิดหูเปิดตาและออกไปทำความรู้จักโลกกว้าง เพื่อแสวงหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการทำงานศิลปะ ซึ่งหากทำผลงานขณะเรียนได้โดดเด่นเราก็อาจจะได้คอนเน็กชั่นใหม่ๆ เพิ่ม รวมถึงมีโอกาสทำงานในต่างประเทศด้วย
เรียนต่อประเทศไหนดี?
ก่อนอื่นควรถามตัวเองก่อนว่าคุณสนใจศิลปะประเภทไหน หรือ สนใจแง่มุมไหนเกี่ยวกับศิลปะเป็นพิเศษ เช่น ถ้าชื่นชอบศิลปะที่อิงกับพุทธศาสนา ‘อินเดีย’ ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย หรือถ้าชอบงานครีเอทีฟ กราฟิก งานศิลปะที่มีความเชื่อมโยงกับนวัตกรรม ก็อาจมอง ‘ญี่ปุ่น’ ไว้เป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่โด่งดังในสาขาวิชานี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี, เยอรมนี ฯลฯ โดยถ้าเป็นประเทศในแถบอเมริกาและยุโรปก็มักจะมีหลักสูตรภาษาอังกฤษให้เลือกเยอะกว่าประเทศในแถบเอเชีย
สำหรับสาขาวิชาอื่น หลักสูตรที่เหมาะสมกับความต้องการ คงเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ ในการเลือกสถาบันเพื่อศึกษาต่อ จากนั้นจึงค่อยพิจารณาสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยรองลงมา แต่สำหรับสาขาวิชาศิลปะ ‘สภาพแวดล้อม’ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากสูสีคู่คี่ไปกับหลักสูตร หากมีโอกาสได้เรียนในเมืองให้ความสำคัญกับศิลปะและเต็มไปด้วยสถานที่สำหรับการเสาะแสวงหาแรงบันดาลใจ รวมถึงได้ศึกษาองค์ความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง นักเรียนก็จะมีโอกาสพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ‘โตเกียว’ ที่เต็มไปด้วยพิพิธภัณฑ์น่าสนใจมากมายและมีนิทรรศการระดับโลกหมุนเวียนมาจัดแสดงอยู่บ่อย หรือ ‘เบอร์ลิน’ ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์มากถึง 170 แห่ง และมีเกาะพิพิธภัณฑ์ที่เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและขุมทรัพย์ความรู้ด้านศิลปะชั้นเลิศ หรือ ‘ปารีส’ ที่เมืองทั้งเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่
สาขาวิชาย่อย
- จิตรกรรม (Painting)
- ประติมากรรม (Sculpture)
- ภาพพิมพ์พื้นฐาน (Printmaking)
- ทฤษฎีศิลป์ (Art Theory)
- การออกแบบ (Design)
- สหศาสตร์ศิลป์ (Multidisciplinary Art)
- สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ (Media Arts and Design)
- ทัศนศิลป์ (Visual Arts)
- การจัดการศิลปะ (Art Management)
เส้นทางอาชีพ
เส้นทางอาชีพของบัณฑิตสาขาศิลปะส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 4 ทาง คือ
- ศิลปินอิสระเน้นสร้างสรรค์งานศิลปะตามแนวทางของตนเอง
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น ผลิตสินค้าแนวศิลปะ หรือ ซื้อ-ขายงานศิลปะ
- พนักงานในองค์กรรัฐหรือเอกชนที่มีความเกี่ยวข้องกับศิลปะ
- งานสายวิชาการ เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัย หรือ นักวิจัย
อาชีพที่น่าสนใจ
- ศิลปิน
- นักวาดภาพประกอบ
- อาจารย์
- นักวิจัยศิลปะร่วมสมัย
- ภัณฑารักษ์
- นักบริหารจัดการด้านศิลปะ
- พนักงานฝ่ายศิลป์
- นักออกแบบ
หลักสูตรศิลปะที่คนไทยนิยมเรียนในต่างประเทศ
การบริหารศิลปะ คือ การทำงานร่วมกับองค์กรศิลปะและวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ โดยมีบทบาทในการดูแลเรื่องการตลาด การจัดสรรทรัพยากร การหาเงินทุน การดูแลความปลอดภัยของชิ้นงานศิลปะ และดูแลกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปะที่จัดขึ้นในแต่ละวัน ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่อุตสาหกรรมศิลปะมีบทบาทสำคัญทั้งในเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ดังนั้น ผู้ที่จบด้านการบริหารศิลปะจึงมีโอกาสได้ทำงานที่น่าสนใจและหลากหลาย
การออกแบบกราฟิก คือ การเชื่อมโยงความคิดสร้างสรรค์กับฟังก์ชั่นการใช้ประโยชน์เข้าด้วยกัน เพื่อเปลี่ยนแนวคิดและไอเดียนามธรรมให้กลายเป็นผลงานที่จับต้องได้ มีความสุนทรียะแห่งความงาม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เช่น ผลิตเป็นปกหนังสือ ตกแต่งหน้าเว็บไซต์ ตกแต่งแพกเกจผลิตภัณฑ์ การ์ดอวยพร
10 อันดับมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศในสาขาศิลปะและการออกแบบ
อันดับ |
สถาบัน
|
ประเทศ |
1
|
สหราชอาณาจักร
|
|
2
|
สหรัฐอเมริกา
|
|
3
|
สหรัฐอเมริกา
|
|
4
|
สหรัฐอเมริกา
|
|
5
|
สหราชอาณาจักร |
|
6
|
สหรัฐอเมริกา
|
|
7
|
สหรัฐอเมริกา
|
|
8=
|
Standford University
|
สหรัฐอเมริกา |
8=
|
สหรัฐอเมริกา
|
|
10
|
อิตาลี
|
ข้อมูลปี 2016 จาก Topuniversities.com