
เมื่อต้องนึกถึงช่วงเวลาตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโทส่งก่อนจบ พี่ก็ถอนหายใจออกมาเฮือกใหญ่โดยอัติโนมัติ บอกเลยว่ามันเป็นช่วงเวลาที่ทุกข์ทรมานสุดๆ เพราะว่าพี่ไม่ค่อยชอบการเขียนแนว Acedemic เป็นภาษาทางการสักเท่าไหร่ จำได้เลยว่าช่วงนั้น นั่งเขียนวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ 2 ทุ่มถึงตี 5 แล้วตื่นอีกที 5 โมงเย็น วนลูปนี้ไปเรื่อยๆอยู่ประมาณ 3 เดือน
Sountrack ชีวิตช่วงนั้นคือเพลง “ชีวิตยังคงสวยงาม” ของ Bodyslam ที่ใช้เปิดเป็น Intro ตั้งสติก่อนสตาร์ทในทุกค่ำคืน และพอท้อใจขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็เปิดเพลง “วัดใจ” ไม่ว่าจะสูงเท่าไหร่ ก็ไปถึงของ Silly fools เป็นเพลงปลุกใจ พร่ำบอกตัวเองว่าฉันต้องผ่านพ้นมันไปให้จงได้ (ค่าเทอมแพงมากนะ ฉันต้องเรียนให้จบ!)
อุปสรรคที่สำคัญของการทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องทักษะทางภาษาอังกฤษ แต่หากเป็นการเรียบเรียงความคิดและต้องหาทฤษฎี ผลงานวิจัยมาสนับสนุน มีบ่อยครั้งที่พี่นั่งจ้อง cursor กระพริบๆบนหน้าจออยู่เป็นชั่วโมงๆ แต่ก็เขียนอะไรไม่ออกสักกะที การเขียนวิทยานิพนธ์จึงเป็นสิ่งที่ต้องใช้การจัดการบริหารเวลาที่ดี
วันนี้พี่จึงอยากจะแชร์ 5 เว็บที่ช่วยให้ชีวิตช่วงเขียนวิทยานิพนธ์พี่ดีขึ้นเย๊อะ น้องๆที่กำลังจะต้องเขียนวิทยานิพนธ์ในปีนี้ คงอยากจะรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวช่วยของพี่คืออะไร งั้นเราไปเริ่มกันเลย
1. Google Calendar
อย่างที่เกริ่นไปแล้วค่ะ ว่าการเขียนวิทยาพนธ์ต้องใช้การจัดการบริหารเวลาที่ดี เราจึงต้องใช้ดิจิตอลปฏิทินมาเป็นตัวช่วยในการวางแผนการทำงานและคอยเตือนว่าเราลุล่วงไปถึงไหนแล้ว ลองมาวางแผนกันคร่าวๆนะคะ ถ้าลิมิตจำนวนคำที่ให้เขียนเป็น 15,000 คำ
-
ถ้าเราต้องใช้เวลาเขียน 3 เดือนก็เท่ากับว่า เขียนประมาณเดือนละ 5,000 คำ
-
ถ้าใช้เวลา 6 เดือน ก็จะเหลือแค่เดือนละ 2,500 คำเอง คิดแบบนี้ก็ชิวกว่าเดิมเยอะ
ดั่งคำโบราณว่าไว้ “ลำบากก่อนสบายทีหลัง” รีบเริ่มทำก็จะไม่เหนื่อยมากเกินไป ถ้าจะดีมากขึ้น น้องๆอาจจะแบ่งเขียนตามส่วนต่างๆในเล่มค่ะ ก็แจกแจงออกมาเลย ว่าควรจะมีจำนวนคำในแต่ละส่วนเท่าไหร่ เราจะได้รู้ไว้ว่าจะไปเผื่อเวลาให้กับส่วนไหนมากกว่ากัน อย่างสถาบันที่พี่ไปเรียน เขาได้ให้ Dissertation Handbook ที่แจกแจงรายละเอียดมาเป็นแนวทางคร่าวๆ ดังนี้
MA with Placement Total 15,000 words
-
Title Page
-
Declaration 50 (not included in the word count)
-
Abstract 250 (not included in the word count)
-
Contents 100 (not included in the word count)
-
Introduction 1,200
-
Literature Review 3,750
-
Methodology 2,550
-
Results 2,550
-
Discussion 3,250
-
Conclusion 1,700
-
References
-
Bibliography
-
Appendices
เมื่อได้จำนวนกำหนดจำนวนคำคร่าวๆมาแล้ว ก็ให้น้องๆกรอกข้อมูลแผนการทำงานใส่ Google Calendar เลยค่ะ ถ้าน้องๆมีเวลาในการเขียนเยอะ ชิวๆก็วางไว้หลวมๆได้ค่ะ จะได้ไม่เคร่งเครียดเกินไป แต่ถ้าเวลาส่งใกล้เข้ามาแล้วก็สู้ๆกันหน่อยนะคะ
ยกตัวอย่าง พี่ให้เวลาในการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมเขียน 7 วัน จากนั้นจึงเริ่มเขียน Introduction 1,200 คำ โดยแบ่งเขียนสบายๆวันละ 300 คำค่ะ ถ้าวันไหนรู้สึกมีอารมณ์ขยัน หรือหัวสมองแล่น พี่ก็จะเขียนต่อไปถึงแม้ว่าจะเกินจำนวน 300 ที่กำหนดไปแล้ว ส่วนถ้าวันไหน นึกไม่ค่อยออก เขียนได้ไม่เยอะเท่าไหร่ พี่ก็จะยกยอดจำนวนคำไปเขียนในวันถัดไปค่ะ แน่นอนว่า การจัดปฏิทินแบบนี้เป็นแค่ Guideline พอถึงเวลาบางทีต้องเพิ่มวันในการอ่านหนังสือค้นคว้าขึ้นอีกค่ะ เพราะรู้สึกว่าของที่หามาแล้วยังไม่ค่อยเกี่ยวเท่าไหร่
สรุปคือ น้องๆสามารถใช้ Google Calendar ในการลงปฏิทินสิ่งที่เราต้องทำไว้ แล้วตั้ง Notification ให้มันเตือนในมือถือด้วยว่าวันนี้ต้องเขียนเรื่องอะไร จำนวนคำเท่าไหร่ ที่สำคัญ! อย่าลืมว่าก่อนจะส่งเล่มสุดท้าย น้องๆต้องมีการปรับแก้ระหว่างทางตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ พร้อมทั้งเผื่อเวลาในการให้คนพิสูจน์อักษร จัดพิมพ์และจัดส่งเล่มอีกด้วย อย่างเรื่องการพิมพ์เล่ม ควรจะไปคุยกับทางโรงพิมพ์ให้ดีว่าใช้เวลาเท่าไหร่ให้การพิมพ์และเย็บเล่ม น้องๆจะได้รับรูปเล่มและส่งงานได้ตามกำหนดค่ะ ว่าแล้ว ก็ไปเริ่มวางแผนการทำงานกันเลยดีกว่า https://calendar.google.com
2. Dropbox
คือ ตัวช่วยเรื่องความปลอดภัย ให้เรารู้สึกอุ่นใจ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์จะพังหรือเครื่องถูกขโมยไปตอนไปนั่งทำงานที่สตาร์บัค ถึงแม้จะต้องมานั่งเสียใจ เสียดายเงินที่ของสูญหาย อย่างน้อย น้องๆก็ยังยิ้มได้ที่ไฟล์วิทยานิพนธ์ที่อุตส่าห์ใช้น้ำพักน้ำแรงเขียนมาตลอดเวลาหลายเดือนยังไม่สูญหายไป เพราะน้องๆ save ไฟล์ ไว้ใน Dropbox
หากใครยังไม่เคยใช้บริการของ Dropbox พี่จะอธิบายให้ฟังง่ายๆว่า Dropbox คือโฟลเดอร์พิเศษที่พอดาว์โหลดมาไว้ในคอมพิวเตอร์เราแล้ว เวลาเราใส่อะไรลงไปในโฟลเดอร์นี้ ข้อมูลก็จะไปถูกบันทึกไว้บนอินเตอร์เน็ตด้วย ทำให้น้องสามารถเรียกใช้ไฟล์ได้ผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์สมาร์ทโฟนผ่าน account ส่วนตัว นอกจากนี้น้องๆยังสามารถส่ง link แชร์ไฟล์ให้กับผู้อื่น เหมาะอย่างยิ่งกับการทำงานเป็นกลุ่ม
แต่ฟังก์ชั่นที่พี่ชอบที่สุดของ Dropbox ที่ช่วยในการเขียนวิทยานิพนธ์คือ การเรียกคืนไฟล์เวอร์ชั่นก่อนหน้าได้ย้อนหลังถึง 30 วัน เวลาทำงานน้องๆอาจจะเผลอลบรายละเอียดบางส่วนไปแล้วเซฟทับไฟล์ปัจจุบัน หรือไม่ถูกใจลบข้อความบางส่วนออกไป แต่ตอนหลังรู้สึกว่าน่าจะนำกลับมาใช้อีกแต่ดันเซฟทับไป ซึ่งทำให้น้องๆก็ต้องหงุดหงิดมานั่งเขียนใหม่ทั้งย่อหน้า รู้สึกน้ำตาจะไหล แต่ถ้าน้องๆบันทึกไฟล์ไว้บน Dropbox น้องๆสามารถ Recovery Previous Versions ได้โดยการไปที่เว็บไซต์แล้วคลิกขวาที่ชื่อไฟล์ค่ะ
ถ้าใครยังไม่เคยโหลด Dropbox มาใช้ พี่ว่าได้เวลาเข้าไปโหลดที่ https://www.dropbox.com ไม่ต้องกลัวว่าจะใช้ไม่เป็นนะคะ ในเว็บมีวิดิโอสอนและ e-book อธิบายวิธีใช้แล้ว โดย Dropbox ให้น้องๆใช้บริการฝากไฟล์ไว้ได้ฟรีในพื้นที่การจัดเก็บ 2G ค่ะ ถ้าใครอยากได้พื้นที่เยอะกว่านี้ก็สามารถซื้อแพจเกจเพิ่มเติมได้ แต่แค่เขียนวิทยานิพนธ์ 2G พี่ว่าเอาอยู่ น้องๆคงไม่ต้องถึงกับเสียเงินซื้อพื้นที่เพิ่มหรอกค่ะ
3. Thesaurus
สิ่งที่ต้องทำในการเขียนวิทยานิพนธ์ก็คือ การอ่านๆๆๆแล้วก็ประมวลความคิดมาเขียนในคำพูดของตัวเอง ที่เรียกว่าการ Paraphrase เพื่อหลีกเลี่ยง Plagiarism การลอกเลียนผลงานผู้อื่นเอามาเขียน ซึ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศซีเรียสกับเรื่องนี้มากนะคะ ลืมการทำรายงานแบบ Copy & Paste ของไทยไปได้เลย เราต้องเขียนด้วยภาษาของเราเองค่ะ อย่างสถาบันของพี่ก็ใช้ Turnitin ในการเช็คว่างานเขียนของเรามี Originality Percentage เท่าไหร่ ถ้าเปอร์เซ็นต์ออกมาว่างานเขียนของเราเหมือนกับคนอื่นมากเกินไป อาจารย์เขาก็ไม่รับตรวจเลย หนึ่งในเทคนิคการ Paraphrase ประโยคและแปลงคำพูดมาเป็นของเราเอง คือ การใช้คำเหมือนมาเขียน http://www.thesaurus.com/ จึงเป็นเว็บที่สามารถช่วยเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนการใช้งานก็ไม่ยากค่ะ แค่กรอกคำศัพท์ที่น้องๆต้องการหาคำเหมือนลงไป เว็บไซต์ก็จะแสดงรายชื่อคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำศัพท์ที่เราค้นหาขึ้นมา โดยมีแถบสีแสดงความใกล้เคียง หากใกล้เคียงมากก็จะแสดงสีเหลืองเข้มถ้าลดหลั่นลงไปจนเป็นสีเหลืองจางจนกระทั่งกลายสีเทาอ่อนและเทาเข้มที่แสดงคำตรงข้ามค่ะ
4. Cite This For Me
5. Grammarly
ตัวช่วยตัวสุดท้ายคืออะไรที่มหัศจรรย์มาก Grammarly เป็นเว็บไซด์ที่ช่วยพิสูจน์อักษร เช็ค Grammar และ Plagiarism ได้อีกด้วย อีกทั้งยังมี Microsoft Office และ Chrome Add-on ให้น้องสามารถเช็คการเขียนที่ถูกไวยากรณ์ได้ทั้งตอนพิมพ์วิทยานิพนธ์หรือเขียนอีเมลติดต่อกับครู เมื่อเปิดการใช้งาน Grammarly ก็จะขีดเส้นใต้คำที่มีปัญหา พร้อมทั้งอธิบายว่า คำนี้ผิดและควรแก้ไขอย่างไร
สำหรับคนที่พื้นฐานไวยากรณ์ดีอยู่แล้วอาจจะไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่อย่างน้อย Grammarly ก็ช่วยตรวจเรื่องการสะกดคำผิด หรือการไม่สอดคล้องกันกับพจน์ของประธานและกริยา เวลาเราพิมพ์งานจนตาล้าแล้วมองไม่ทันค่ะ
จะใช้งาน Grammarly ให้ได้ครบครันก็ต้องซื้อ Premium Package ถ้าจะให้คุ้มต้องสมัครรายปีค่ะเพราะราคาต่อเดือนหารแล้วถูกสุด ถ้าสมัครตั้งแต่ตอนเริ่มเรียนป.โท ก็คุ้มสุดๆเพราะสามารถใช้พิสูจน์อักษร งานเดี่ยว งานกลุ่ม ระหว่างปีได้ด้วย
TIPS :
นอกจากฝรั่งเศสแล้วก็ยังมีอีกหลายประเทศที่น่าสนใจสำหรับการเรียนต่อ ลองเช็กมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในยุโรป เพื่อวางแผนการสมัครคอร์สเรียนและสมัครทุน มีหลายสถาบันที่กำลังเปิดคอร์สเรียนใหม่ ลองดาวน์โหลดโบรชัวร์เพื่ออ่านรายละเอียดล่าสุด