
Pride Month 🏳️🌈 ปีนี้ Hotcourses Thailand ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งสนับสนุนชุมชนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศอะไร
เอาล่ะ หัวเรื่องเปิดมาปังๆ แล้ว บทความนี้ก็คงหนีไม่พ้นบทความเกี่ยวกับ LGBTQIA+ วันนี้เราจะมาให้คำแนะนำคร่าวๆ สำหรับนักเรียน LGBTQIA+ ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศกัน รวมไปถึงการหา community (หรือชุมชน) ของผู้มีความหลากหลายทางเพศเมื่อไปถึงประเทศเรียนต่อด้วย จะเป็นยังไงไปอ่านกันเลย
ก่อนอื่นขออธิยายสั้นๆ เกี่ยวกับตัวย่อ LGBTQIA+ ก่อนนะ เราชื่อว่าหลายคนอาจคุ้นเคยกับตัวย่อ LGBTQ ซึ่งย่อมากจาก Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender, Queer (Questioning) แล้ว วันนี้เราจะขอแนะนำตัว I และ A ให้ได้รู้จักกัน
ตัว I ย่อมากจาก Intersex คือ คนที่เกิดมามีภาวะเพศกำกวม มีทั้งอวัยวะเพศชายและหญิง
ตัว A ย่อมากจาก Asexual คือ คนที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศ อารมณ์พิศวาส กับเพศใดๆ
ส่วนตัว + ก็คือ กลุ่มคนอื่นๆ อีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถระบุหมวดหมู่ได้
Study Abroad Tips for LGBTQIA+ students
เป็นธรรมดาเมื่อเราไปเรียนต่อต่างประเทศ หลากหลายคำถามจะผุดขึ้นมาในหัว แต่สำหรับกลุ่ม LGBTQIA+ นั้นลิสต์ของคำถามจะยาวขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็น
- ฉันจะเป็นที่ยอมรับมั้ย?
- จะโดนเหยียดรึเปล่า?
- จะแสดงตัวตนจริงๆ ออกไปได้มั้ย?
- จะอยู่ในอพาร์ทเมนต์ได้อย่างสบายใจมั้ย?
กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอาจเริ่มเตรียมตัวดังนี้
1. ตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม
เมื่อไปเรียนต่อต่างประเทศ การเลือกประเทศเรียนต่อสำหรับนักเรียน LGBTQIA+ นั้นสำคัญมาก เพราะแต่ละวัฒนธรรมมีเรื่อง sensitive ไม่เหมือนกัน และในบางประเทศยังไม่ยอมรับการเป็น LGBTQIA+ และบางทีความตั้งใจอยากจะเปลี่ยนมันก็ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ดังนั้นทางที่จะ play safe ที่สุดก็คือการทำการบ้านแต่ะประเทศ หรือประเทศที่จะไปให้ดีๆ ก่อน ควรเอาข้อมูลมาเทียบกันเลยว่าประเทศไหนเป็นยังไง อ่านให้หมดเกี่ยวกับวัฒนธรรม ความคิดเห็นของคนในประเทศต่อกลุ่ม LGBTQIA+
2. รู้ว่าประเทศนั้นๆ มีจุดยืนเกี่ยวกับชาว LGBTQIA+ อย่างไร
ต่อจากข้อแรกเลย คือนอกจากเราจะศึกษาวัฒนธรรม ผู้คนแล้ว ควรรู้ด้วยว่า ‘ประเทศโดยรวม’ มี ‘จุดยืน’ อย่างไรต่อชาว LGBTQIA+ เช่น ประวัติศาสตร์ การออกกฎหมายเกี่ยวกับ LGBTQIA+ การต่อสู้เพื่อสิทธิของชาว LGBTQIA+ ในประเทศนั้นๆ
ประเทศที่เป็นมิตรต่อ LGBTQIA+ : ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่จะมี communities ของชาว LGBTQIA+ ที่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นสเปน ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน รวมไปถึงนิวซีแลนด์ อเมริกาด้วย
ประเทศที่มีทัศนคติกลางๆ ต่อ LGBTQIA+ : ญี่ปุ่น จีน คอสตาริก้า
ประเทที่มีทัศนคติเป็นลบต่อ LGBTQIA+ : มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ส่วนใหญ่ในเมืองจะมีความเปิดรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากกว่าเมืองเล็กๆ เพราะในเมืองผู้คนจะมีความหลากหลายมากกว่า
3. หาทุนการศึกษา
เดี๋ยวนี้มีทุนหลากหลายมากๆ ให้ชาว LGBTQIA+ ถ้าใครยังไม่รู้ สามารถไปอ่านได้ที่
ทุนเรียนต่อสำหรับชาว LGBT ทั่วโลก ภาค 1
5 ทุนการศึกษาสำหรับ LGBTQ ภาค 2
4. เตรียมตัวก่อนไป
สำหรับชาว LGBTQIA+ นั้น หลายประเทศ (รวมถึงไทย) กฎหมายอาจตาม movement ของสังคมไม่ทัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคำนำหน้าชื่อ ยาฮอร์โมนที่ LGBTQIA+ ต้องทาน ฯลฯ สำหรับกลุ่ม Transgender บางครั้งอาจมีเรื่องให้ระวังมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เช่น
- เวลาจองตั๋วเครื่องบิน ควรมั่นใจว่าชื่อ เพศและวันเกิด ที่กรอกนั้นตรงกับสิ่งที่อยู่ในพาสปอร์ต
- ถ้าหากมียาที่ต้องถือขึ้นเครื่อง ยาเหล่านี้ต้องได้รับอนุญาติให้นำขึ้นเครื่องตั้งแต่จุดตรวจกระเป๋า และยาเหล่านี้ควรมีใบสั่งว่าเป็นของเรา ให้ชัวร์เลยคือควรมีใบรับรองจากแพทย์ติดตัวไปด้วย
- ถ้าหากมียาที่ไม่ตรงกับข้อกำหนด ควรสำแดงให้เจ้าหน้าที่รู้ก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา
- ในกรณีที่ต้องมีการค้นตัว หรือตรวจเครื่องแต่งกาย เจ้าหน้าที่ควรมีเพศเดียวกับเรา โดยสิ่งนี้ต้องดูว่าเรา represent เป็นเพศไหน เช่น ผู้หญิงข้ามเพศ (transwoman) ก็ควรได้รับการตรวจร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ผู้หญิง และหากไม่สบายใจ เราสามารถให้ตรวจค้นร่างหายในที่ปิดได้
5. หาชุมชนชาว LGBTQIA+ ให้เจอ
การรู้จัก communities ชาว LGBTQIA+ นั้นสำคัญมาก เพราะบางประเทศไม่ได้เปิดรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขนาดนั้น การมี ‘พื้นที่’ ให้เป็นตัวของตัวเอง ปรับทุกข์และสนับสนุนกันและกันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นเมื่อไปเรียนต่อควรหาชุมชนนี้ของตัวเองให้เจอ วิธีการมีดังนี้
- ทำการบ้านก่อนไป
เริ่มจากการรีเสิร์ชก่อนเลยว่าประเทศหรือเมืองที่จะไป มีองค์กรไหนบ้างที่ดูแล หรือทำงานเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ข้อมูลนี้จะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่าประเทศหรือเมืองนั้นๆ มีกลุ่มสนับสนุน LGBTQIA+ มากแค่ไหน
- สร้างเครือข่ายก่อนไป
สิ่งแรกๆ ที่ทำได้คือการสร้าง network หรือเข้าร่วม network ที่มีอยู่แล้ว เริ่มจากเพื่อนร่วมชั้น หรือศิษย์เก่า หลายคนบอกว่าจะเริ่มยังไงเพราะยังไม่รู้เลยว่ามีใครบ้าง? ตรงนี้อาจต้องให้เจ้าหน้าที่หรืออาจารย์ที่ปรึกษาช่วยประสานงาน โดยอาจถามว่ามีเครือข่ายของกลุ่ม LGBTQIA+ อยู่แล้วรึเปล่า
- เข้าร่วม LGBTQIA+ center ของมหาลัย
เดี๋ยวนี้ มหาลัยในต่างประเทศพยายามทำตัวให้ inclusive มากขึ้น ดังนั้นจึงมีศูนย์ดูแล LGBTQIA+ ขึ้นมา ใน center เหล่านี้ก็จะมีกิจกรรม มีตติ้งให้นักศึกษามาพบปะและทำกิจกรรมกัน โดยไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วย การเข้าร่วมกิจกรรมนี้จะทำให้เราได้พบเพื่อนใหม่ พบ allies ที่สนับสนุน LGBTQIA+ ด้วยกัน
- ใช้แอปพลิเคชัน
เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็สามารถหาได้ในแอป แน่นอนว่ามีแอปนัดเดตหลายๆ แอปที่ถูกนำไปใช้ทำอย่างอื่น (อย่างนั้นแหละ) แต่หลายครั้งแอปเหล่านี้ก็นำพาเราไปสู่มิตรภาพของกลุ่ม LGBTQIA+ ได้เช่นกัน อย่าลืมว่าอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ในโลกดิจิทัลที่ใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุด
- หา ‘พื้นที่’ ของชาว LGBTQIA+
พื้นที่ในที่นี้เป็นได้ทั้งไนต์คลับ บาร์ หรือชมรมก็ได้ (เช่น ชมรมหนังสือ) การมีพื้นที่แบบนี้จะช่วยให้เราเป็นตัวของตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศ หรือในเมืองที่เคร่งครัดมากๆ
- อย่าลืมติดต่อกับเพื่อนเก่า
บางครั้งการไปอยู่ในสถานที่แปลกใหม่อาจทำให้เราไม่คุ้นเคย และบางครั้งการซึมซับอยู่ในบรรยากาศใหม่ๆ นี้ก็อาจทำให้เราลืมคนที่บ้านบ้าง ดังนั้นอย่าลืม keep up กับเพื่อนๆ หรือกลุ่ม LGBTQIA+ ของตัวเองก่อนไปเรียนต่อบ้าง
LGBTQ คืออะไร สำคัญอย่างไร มหาวิทยาลัยต่างประเทศจัดการกับประเด็นนี้อย่างไร
รวมมหาลัยรอบโลกที่จัดว่าเป็นมิตรสุดกับ LGBT