
ย้อนกลับไปช่วงสมัยเราเลือกมหาลัยที่จะเรียนต่อ (เมื่อนานหลายปีมาแล้ว) เราจำได้แม่นเลยว่าหนึ่งในกิจกรรมที่ทำแทบทุกวันคือการเช็คอันดับมหาลัยที่เราสนใจ คือเช็คมันอยู่นั่นแหละ หลายสำนัก หลายอันดับ เพราะเราอยากแน่ใจว่ามหาลัยที่เราจะไปเรียนต่อนั้นมีได้อันดับที่ค่อนข้างดีและเป็นที่ยอมรับในประเทศ (และนอกประเทศ) แต่ก็มีหลายครั้งเหมือนกัน ที่เราดูอันดับไปแล้วก็สับสน เพราะบางสำนักบอกว่ามหาลัยเราเริ่ดมาก ติดท๊อป 10 แต่บางอันก็ร่วงลงมาอยู่ที่ 30 กว่า เราก็เกิดคำถามในใจว่า #อิหยังวะ สรุปมันยังไงกันแน่ และทางเราก็มั่นใจว่าหลายๆ คนมีคำถามแบบนี้ในใจเช่นกัน
วันนี้เราเลยเอาบทความจาก MacroBusiness ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาลัยมาให้อ่านกันจ้ะ มาดูซิว่า นอกจากอันดับมหาลัยที่เราควรดูแล้ว เราควรดูตรงไหนอีกบ้าง
เมื่อประมาณเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บรรดาสื่อใหญ่ๆ แห่งแดนจิงโจ้เค้าก็ออกมาตีข่าวกันใหญ่เกี่ยวกับมหาลัยท๊อปๆ 7 แห่งของออสเตรเลียที่ได้รับการยกให้ติดอันดับท๊อป 100 มหาลัยที่ดีที่สุดในโลกจาก QS University ranking 2019
มหาลัยเหล่านั้นได้แก่
-
The Australian National University (ANU) อันดับที่ 24
-
The University of Melbourne อันดับที่ 39
-
The University of Sydney อันดับที่ 42
-
The University of New South Wales (UNSW Sydney) อันดับที่ 45
-
The University of Queensland อันดับที่ 48
-
Monash University อันดับที่ 59
-
The University of Western Australia อันดับที่ 91
(ขอบอกว่ามหาลัยท๊อปๆ เหล่านี้บางที่ไม่ต้องใช้ ก็เข้าได้นาจา กดลิ้งค์ข้างล่างไปดูได้เลย)
แน่นอนว่ายิ่งอันดับสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น ทางมหาลัยเองก็แฮปปี้เพราะนอกจากจะได้รับเกียรติและชื่อเสียงที่ดีงามแล้ว เค้ายังสามารถใช้อันดับเหล่านี้มาเป็นจุดขายหลักได้อีกด้วย
บทความนี้เค้าดูอันดับต่างๆ แล้วเค้าก็ตั้งคำถามว่า Ranking เหล่านี้จริงๆ มันถูกต้องรึเปล่านะ? เอ๊ะ คำถามน่าสนใจ ถ้างั้นก่อนที่จะไปดูว่าเค้าคิดว่ายังไง เรามาชำแหละการจัดอันดับนี้กันก่อนดีกว่าว่าเค้าใช้หลักอะไรบ้าง
♦ เค้าใช้อะไรเป็นตัววัดบ้างล่ะ ♦
เค้ารวมคะแนนจากด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่
-
Academic reputation (40%) ชื่อเสียงมหาลัยโดยรวม ได้มาจากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญในด้านการเรียน การสอน และการวิจัยในด้านการศึกษาโดยเฉพาะ
-
Employee reputation (10%) อันนี้เค้าไปถามบริษัทใหญ่ๆ ต่างๆ และให้ทางบริษัทบอกชื่อมหาลัยที่เค้าคิดว่าดีมานั่นเอง
-
Faculty/student ratio (20%) อัตราส่วนของนักศึกษาในคณะ อันนี้เค้าวัดว่านักศึกษามีจำนวนพอดีกับบุคลากรหรือคุณครูมั้ย และสามารถเข้าถึงผู้สอนได้ดีรึเปล่าถ้ามีปัญหา
-
Citations per faculty (20%) การได้รับการอ้างอิงถึงในงานวิจัยต่างๆ
-
International faculty/student ratio (5%) อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติ
พอแงะคะแนนออกมาดูเป็นส่วนๆ แบบนี้ก็พอจะเห็นภาพรวมชัดขึ้นเนอะ ว่าคะแนนมาจากไหนกันบ้าง คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วล่ะ ว่าเราอยากจะมองจากมุมไหน
ตัวอย่างเช่น สำหรับบางคนเค้าอาจจะอยากเห็นมหาลัยที่เป็นที่ชื่นชอบของบริษัทต่างๆ แบบนั้นเค้าก็ควรมองจาก employee reputation เป็นหลักด้วย
♦ นักเรียนต่างชาติเยอะ แต่จำนวนผู้สอนกลับสวนทาง? ♦
กลับมาที่บทความกันต่อ ในบทความที่เรากำลังพูดถึงนี้ เค้าเน้นไปที่เรื่องของจำนวนนักเรียนต่างชาติที่กำลังมีมากขึ้นและมากขึ้นไปในทุกๆ ปี มันอาจจะเป็นเรื่องดีก็จริงนะ แต่ๆๆ อย่าลืมว่านักเรียนต่างชาติ มีแนวโน้มที่จะต้องการความช่วยเหลือ และต้องการคุยกับอาจารย์หรือผู้สอนมากกว่านักเรียนในชาติตัวเอง (แหงล่ะ ก็มาจากต่างประเทศ มาเรียนต่างภาษา ก็ต้องอยากได้ความช่วยเหลือมากหน่อยอ่ะเนอะ) ซึ่งไม่แปลก
แต่ว่าประเด็นมันอยู่ที่มหาลัยส่วนใหญ่ ดั๊นไปให้ความสำคัญกับการจ้างงานบุคลากรหรือสต๊าฟที่ไม่ใช่สายวิชาการ (คือฝั่งที่ไม่ใช่ครู อาจารย์ ผู้สอน ฯลฯ) และแนวโน้มดีดูจะเกิดขึ้นกับมหาลัยหลายแห่งในออสเตรเลียซะด้วยสิ
พอจำนวนนักเรียนต่างชาติสูงเอาๆ และจำนวนบุคลากรด้านวิชาการกลับไม่เพิ่มตาม ปัญหาก็ตามมาที่ว่า อัตราส่วนระหว่างนักเรียนต่างชาติกับผู้สอนก็กลายเป็นห่างกันไปเรื่อยๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า ถ้านักเรียนคนนึงมีปัญหา เค้าอาจจะเข้าหาผู้สอนหรือสต๊าฟได้ยากกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง
ในบทความนี้เค้าก็แอบแสบ เพราะเค้าเอาอัตราส่วนด้านนี้มารวมกันในกราฟ ทำให้เห็นว่ามหาลัยไหนมีจำนวนบุคลากรทางวิชาการน้อยไปหน่อย ดูไปดูมา เค้าแนะนำว่ามหาลัยที่ดูจะมีอัตราส่วนที่พอดีหน่อย คือ ANU และ Sydney University จ้ะ
♦ แล้วแบบนี้ Ranking ยังน่าเชื่อถืออยู่มั้ย? ♦
ต้องตอบว่า เยส ยังน่าเชื่อถืออยู่จ้ะ แต่เราขอแนะนำแบบนี้
-
เราควรดูการจัดอันดับอย่างละเอียด จากที่ดูแค่คะแนนโดยรวม เรายังควรดูด้านอื่นๆ ที่เราสนใจ รวมถึงดูการจัดอันดับแบบเฉพาะทาง เช่น มหาลัยไหนมีชื่อเสียงในด้านคณะที่เราอยากเรียน เพราะบางมหาลัยอาจจะท๊อปในด้านวิศวะ แต่คะแนนด้านนิเทศศาสตร์อาจจะไม่เริ่ดเท่าก็ได้
-
ควรดูการจัดอันดับจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น Times ranking, QS
-
อย่ายึดติดกับอันดับมากเกินไป นอกจากเรื่องอันดับ เราก็ควรดู
-
เนื้อหาของคณะที่เราอยากเรียน
-
ตัวเมืองที่เราอยากไปอยู่
-
ค่าเทอมและค่าใช้จ่ายต่างๆ
-
วันนี้เนื้อหาเต็มเอี้ยดหน่อยเนาะ แต่หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้กันนะค้า