
ชำแหละข้อสอบ IELTS พาร์ท Writing ที่อาจทำให้คุณได้คะแนน 5-6.5 ไปครองง่ายๆ
หากคุณเป็นคนที่ต้องสอบ IELTS แล้วล่ะก็ พาร์ทที่เขาว่ากันว่าเป็นพาร์ทที่ยากที่สุดเนี่ย คงหนีไม่พ้นพาร์ทการเขียน หลายคนอาจจะยังจำโมเมนต์การเข้าห้องสอบไปแบบหัว blankๆ เจอเส้นกราฟ บาร์ชาท วงกลมเยอะแยะไปหมด ไหนจะถามความคิดเห็นในเรื่องที่ไม่รู้มาก่อนอีก เขียนตั้งเยอะตั้งแยะก็ให้แค่ชั่วโมงเดียว ใครจะไปเขียนทันกันยะ? ต้องเกิดใหม่อีกกี่ภพอีกกี่ชาติถึงจะได้ถือสัญชาติอังกฤษ จะได้ไม่ต้องสอบ IELTS ให้ปวดหัว ล่าสุดค่าสอบก็แพงมากจ้า ปาไปแปดพันกว่าบาทแล้วสำหรับ UKVI
วันนี้ในฐานะที่เราเป็นติวเตอร์ด้านการเขียน IELTS โดยตรง พร้อมทั้งประสบการณ์การสอนเกือบสามปี วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการรับมือกับข้อสอบ IELTS พาร์ท Writing ที่อาจช่วยให้คุณได้คะแนน Band 5-6 ไปครองได้ง่ายๆ !
เข้าใจการคิดคะแนน
ข้อสอบพาร์ทการเขียนของ IELTS แบ่งออกเป็นสองพาร์ท นั่นก็คือ Task 1 และ Task 2 โดยมีข้อแตกต่างกันดังนี้
Task 1: เป็นการเขียนอธิบายแผนภาพ Graph Pie Bar Chart Table ซึ่งโจทย์บอกให้เราบรรยาย เราเลยไม่จำเป็นต้องใส่ความคิดเห็นใดๆ ลงไป โดยตัวนี้จะมีคะแนนอยู่เพียง ⅓ ของคะแนนทั้งหมดเท่านั้น
Task 2 จะมีความเหมือนกันทั้งในของ General และ Academic ผู้เข้าสอบจำเป็นต้องตอบให้ตรงคำถามว่าเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วย พร้อมยกตัวอย่างสนับสนุนให้เพียงพอด้วย คะแนนในส่วนนี้จะคิดเป็น ⅔ ของคะแนนทั้งหมด
ฟรี! ดาวน์โหลดโบรชัวร์มหาวิทยาลัยใน UK ข้อมูลแน่น ฟรี
ฟรี! ดาวน์โหลดโบรชัวร์มหาวิทยาลัยใน Australia ข้อมูลแน่น ฟรี
โดยทั้งสองส่วนนั้นจะมีการคิดคะแนนอยู่สี่ส่วนด้วยกันนั่นก็คือ
-
Task Achievement/Task Response เป็นคะแนนวัดว่าเราอ่านโจทย์เข้าใจและตอบคำถามได้ถูกหรือเปล่า ในส่วนของ Task 1 นั้นจะเริ่มตั้งแต่เราสามารถเขียนโจทย์เป็นภาษาของตัวเองได้้ไหม มีการเขียน Overview หรือเปล่า ในกราฟข้อมูลที่ยกมาถูกต้องไหม ส่วน Task 2 ก็จะเน้นว่าเราตอบตรงคำถามหรือเปล่า มีการยกตัวอย่างสนับสนุนสิ่งที่พูดไหมนั่นเอง
-
Coherence and Cohesion คือส่วนที่เราต้องใช้คำเชื่อมเพื่อเชื่อมความหมายของแต่ละประโยคของเรานั่นเอง แต่ก็ใช่ว่าใช้รัวๆ แล้วจะได้คะแนนเพิ่มนะ ดูความเหมาะสมด้วย
-
Lexical Resource คือคำศัพท์ ใช้คำได้หลากหลาย ไม่ใช้คำเดิมซ้ำกันบ่อยๆ ใช้คำได้ถูกต้องกับความหมายและบริบท (Collocation) และที่สำคัญห้ามสะกดผิด นั่นหมายความว่าถ้าเราจำคำยากๆ ไปใช้ในห้องสอบแต่ใช้ผิดบริบทก็คือโดนหักคะแนน ทางทีดีใช้คำง่ายๆ แต่ถูกชัวร์จะดีกว่านะ
-
Grammatical Range and Accuracy ส่วนแรกพูดถึงความหลากหลายของรูปประโยค หากเราใช้แต่ Simple Sentence ตลอดทั้งงาน ก็บอกลาคะแนนไปได้เลย ต้องมีการใช้ประโยครูปแบบซับซ้อน Complex Sentence บ้างนะ อีกส่วนนึงก็คือเรื่องของการใช้แกรมม่าที่ผิดนั่นเอง ผิดเยอะมากๆ ก็เอาคะแนนกลมๆ ไปเลย แต่ถ้าผิดแบบพอรับได้ก็จะขึ้นมาเป็น 5-5.5 แล้ว!
โครงสร้างการเขียน Task 1
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า IELTS Writing Task 1 เป็นการเขียนบรรยายแผนภาพเราเลยแบ่งการเขียนออกเป็นสี่ส่วนหลักๆ
-
Introduction: ทุกๆ โจทย์จะให้คำบรรยายกราฟสั้นๆ มา หน้าที่ของเราคือเปลี่ยนคำพวกนั้นให้กลายเป็นคำของเราเองเช่น ในโจทย์ใช้ shows เราอาจจะเปลี่ยนเป็น demonstrates, illustrates, presents (information) ก็ได้ ขอแค่เปลี่ยนคำจากโจทย์อย่าลอกลงมาก็ได้คะแนนแล้ว
-
Overview: ในส่วนนี้ ให้ลองดูภาพรวมของกราฟ ว่าใครเยอะสุด น้อยสุด ลดลงมากสุด เพิ่มขึ้นสูงสุด แล้วลองอธิบายออกมาเป็นประโยคเดียว โดยลองใช้แพทเทิร์นตามดังนี้ Overall, it is clearly seen that residents in Britain prefered using local fixed line as their primary mean of communication; however, its popularity dropped throughout the year while the other methods like national and international fixed line and mobile phones rose.
จะสังเกตได้ว่าเราแทบไม่ได้ใส่รายละเอียดในส่วนของตัวเลขลงไปเลย เพราะว่าเราจะไปใส่ในส่วนของ detailed paragraph นั่นเอง
-
Body (1-2) ตัวนี้จะทำหน้าที่อธิบาย main feature ที่เราได้กล่าวไปในส่วนของ Overview นั่นหมายความว่า พารากราฟนึงจะอธิบายถึงแค่ส่วนเดียว โดยเราแนะนำว่าให้อธิบายเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มัน “เห็นได้ชัดเท่านั้น” อย่าไปอธิบายมันทุกส่วน เราจะเสียคะแนนค่ะ
โครงสร้างการเขียน Task 2
ก่อนจะพูดเรื่องของโครงสร้าง เรามาดูประเภทคำถามที่ต้องเจอก่อนดีกว่า ประเภทแรกที่ต้องเจอคือ Agree/Disagree หมายความว่าเขาจะให้ Topic มาอันนึง (สมมติว่าเป็นเรื่องเห็นด้วยไหมที่รัฐบาลจะเอาเงินไปสร้างรถไฟฟ้ามากกว่ามาทำถนน) เราก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ขอร้องล่ะว่าอย่ามาทำตัวแอ๊บกลาง นอกจากจะไม่เท่แล้วเนี่ย การเขียนแบบนั้นถือเป็นการฆ่าตัวตายในห้องสอบนะคะ เพราะคุณจะเสียเวลาหาเหตุผลมาหักล้างกันเองเยอะไปหมด เลือกไปเลยเห็นด้วยเพราะอะไร ไม่เห็นด้วยเพราะอะไรแล้วค่อยลิสต์เหตุผลออกมา
แบบที่สองที่เจอคือ Advantage/Disadvantage โจทย์ประเภทนี้ก็ไม่ได้ถามความเห็นเรานะ ถามว่าเขาถามอะไรอะ? ก็ถามว่าเรื่องนี้มันมีผลดี ผลเสียยังไง เราจำเป็นต้องคิดให้รอบว่าฝั่งนี้มีข้อดีอะไรให้พูดถึงบ้าง แล้วอีกฝั่งมีอะไรให้พูดถึงข้อเสียบ้างนั่นเอง
แบบทีสามคือ Cause/Effect คือจะถามสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ เช่นว่าตอนนี้มีปัญหาโลกร้อนนะ น้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นทุกปี ปัญหาของเรื่องนี้จะทำให้เกิดอะไร และเราจะแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง หลายคนอาจจะรีบตอบว่าก็รีบลดการใช้รถยนตร์สิ แต่อะแฮ่ม โจทย์พูดถึง น้ำทะเลที่มีระดับสูงขึ้นทุกปี และปัญหาของเรื่องนี้จะทำให้เกิดอะไร ตรงนี้ก็ต้องกลับมาดูโจทย์อีกอยู่ดีว่าอ่อ ไอ้ปัญหาที่จะเกิดอะ เกิดจากน้ำทะเลที่เยอะขึ้น (ง่ายสุดก็น้ำท่วมไง) วิธีแก้อ่อ ก็ทำเขื่อน สร้างแบรืเออร์ไรงี้มะ ยากป่ะล่ะ? 5555
>>>>สุดยอดลายแทงบทความ IELTS<<<<<<