ขั้นตอนเรียนต่อ
อเมริกา: การเตรียมตัวและการสมัครเรียน - MUST READ

6 ตัวช่วยสลายความงง เมื่อไม่รู้จะเรียนต่อที่ไหนดีในอเมริกา

6 things to consider when choosing universities in usa

    รู้มั้ยว่า ในสหรัฐอเมริกานั้นมีสถาบันการศึกษากว่า 5,300 แห่ง! นี่เป็นตัวเลขที่รวมตั้งแต่สถาบันเสริมสวยจนถึงมหาลัยในกลุ่ม Ivy league แล้วนะเออ จากจำนวนมหาลัยที่เยอะเหมือนปลาในมหาสมุทร อะไรคือเกณฑ์ที่จะช่วยเลือกมหาลัยดี? แน่นอนว่าทุกคนอย่างเข้ามหาลัยดีๆ เนาะ วันนี้ Hotcoures Thailand เลยเอาเกณฑ์ 10 ข้อมาเป็นตัวช่วยในการเลือกมหาลัยคร่าวๆ กัน มีอะไรบ้างตามไปดูจ้า

 

    ข้อดี-ข้อเสียระบบการศึกษาในอเมริกา

 

    Location and Culture

 

    ขอแบ่ง Location ออกเป็นเกณฑ์ง่ายๆ แล้วกัน คือ มหาลัยในเมือง (Urban City) กับมหาลัยที่ตั้งอยู่นอกเมืองหน่อย มีประชากรหลักๆ เป็นนักศึกษาของเมืองนั้นๆ (College Town) อันนี้ขึ้นอยู่ความชอบล้วนๆ สถานที่ตั้งก็จะมากับวัฒนธรรมนั่นแหละ ถ้าชอบความเป็นเมือง ก็จะเจอกับคนหลายเชื้อชาติ หลายภาษาหน่อย แต่ในขณะเดียวกันก็เจอกับความเร่งรีบต่างๆ ใครนึกภาพไม่ออก ให้นึก New York City ประมาณนั้นแหละ

 

    ในขณะเดียวกันถ้าเป็นมหาลัยนอกเมืองหน่อยอย่าง เวลาจะเดินช้ากว่า มีโอกาสพบปะชุมชนเล็กๆ แถวมหาลัย แต่ข้อเสียก็อาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวก ความบันเทิงต่างๆ น้อยกว่า แล้วก็ความหลากหลายอาจจะไม่เยอะเท่าเมืองใหญ่

 

    เทียบกันชัดๆ 2 เมืองใหญ่แห่งอเมริกา NYC VS LA

    รู้จัก NEW ENGLAND ‘ภูมิภาคมหาลัยเทพ’ ในอเมริกา!

 

    University Pride and Alumni Network

 

    มหาลัยในอเมริกาก็เหมือนมหาลัยในไทยนั่นแหละ ใครเข้าเรียนที่ไหนก็จะมี ‘ความภูมิใจ’ เกิดขึ้นมา สิ่งนี้จะเป็นตัวรวมคนในมหาลัยไว้ด้วยกัน และส่งต่อความเชื่อ อุดมการณ์ผ่านไปรุ่นต่อรุ่น สิ่งนี้แหละที่ทำให้เสื้อสกรีนชื่อและปีก่อตั้งมหาลัยขายได้ 😂

 

    ความภาคภูมิใจเหล่านี้จะต่อยอดไปเป็น ‘เครือข่ายศิษย์เก่า’ หรือ Connection ถ้ามหาลัยใหญ่ก็จะมีศิษย์เก่าและคอนเน็คชันเยอะหน่อย สิ่งเหล่านี้ก็จะเชื่อมเราไปสู่การงานและเครือข่ายสังคมอื่นๆ ด้วย ดังนั้นเวลาจะเลือกมหาลัยก็ลองดูในดีๆ ว่าเราอยากได้คอนเน็คชันแบบไหนหลังจากเราเรียนจบ หรือเครือข่ายแบบไหนที่จะช่วยให้เราไปถึงจุดที่เราอยากไป

 

    จบแล้ว ได้งานแน่! รวมมหาลัยที่เป็นเลิศด้าน STEM

    5 มหาลัยที่จบแล้ว BIG TECH COMPANY อยากรับเข้าทำงาน!

 

    Public and Private Universities

 

    มหาลัยในอเมริกามี 2 ระบบคล้ายๆ บ้านเรา ก็คือ มหาลัยเอกเชน (Private University) กับ มหาลัยรัฐบาล (Public University) สิ่งที่แตกต่างระหว่างมหาลัย 2 ประเภทนี้ก็คือ คนที่เรียนมหาลัยเอกชนจะดูมีภูมิฐานกว่า และมหาลัยรัฐฯ ค่าเทอมจะถูกกว่า ในมหาลัยรัฐคลาสจะใหญ่กว่าหน่อย ใครที่อยากสร้างสังคมก็อาจจะชอบ ส่วนมหาลัยเอกชนคลาสจะเล็กกว่า อาจทำให้นักเรียนกับอาจารย์ใกล้ชิดกันมากขึ้น

 

    ระบบการศึกษาของ USA

    มหาลัยดังๆ ปังๆ ใน US ที่ TOEFL ไม่สูงก็เข้าได้

    ถูกกว่าใคร ไปอเมริกา! รวมมหาลัยค่าเทอมไม่แพงใน US

 

    Scholarships and Funding

    

    มีมหาวิทยาลัยในอเมริกาไม่เยอะมากนักที่จะให้ทุนเต็มจำนวนกับนักเรียนต่างชาติ ดังนั้นเวลาคิดถึงค่าใช้จ่ายในการเรียน ควรคิดให้ถี่ถ้วนก่อน เช่น มหาลัย A เป็นมหาลัยรัฐ ตั้งอยู่นอกเมือง ค่าใช้จ่ายอยู่ $40,000 ต่อปี ซึ่งเป็นราคาที่รวมค่าหอพักและค่าเทอมแล้วนะ ส่วนมหาลัย B เป็นมหาลัยเอกชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเมือง ค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียนอยู่ที่ $100,000 ต่อปี รวมค่าหอและค่าเทอม นอกจากนี้ยังมีทุน 50% ให้นักศึกษาต่างชาติด้วย 

 

    เป็นคุณจะเลือกมหาลัยไหนคะ ถ้าคุณมีงบจำนวนจำกัด?

    มหาลัย B ดูเหมือนจะถูกกว่าถึงแม้จะมีทุนให้ แต่จริงๆ แล้วมหาลัย A ก็ยังถูกกว่าอยู่ดี ดังนั้นก่อนจะตัดช้อยส์ ก็ลองคำนวณค่าใช้จ่ายกันก่อนเนอะ

 

    ULTIMATE SCHOLARSHIPS GUIDE 2019 : รวมทุนรัฐบาลจากประเทศทั่วโลก! VOL.1 , VOL.2 

 

    Internships & Undergraduate Research

 

    บางมหาลัยจะมีโปรแกรมฝึกงานที่มีบริษัทสปอนเซอร์ให้ทั้งค่าที่พัก ค่าเดินทางและเงินเดือน นี่เป็นอีกเส้นทางหนึ่งในการไปถึงงานในฝันเลยนะ เพราะฉะนั้นเวลาเลือกมหาลัยก็ลองดูดีๆ ว่าแต่ละที่มีโปรแกรมอย่างนี้ให้บ้างมั้ยจ้ะ

 

🌟    ค้นหารายชื่อมหาลัยในอเมริกา  🌟

 

    Rankings

 

    พอเลือกมหาลัยแล้วหลายๆ คนก็จะคำนึงถึง Ranking เป็นอันดับแรก การจัดลำดับส่วนใหญ่ก็จะเอาด้านวิชาการมาจัดลำดับกัน และไม่ได้เอาความพึงพอใจของนักศึกษา หรือสมาคมศิษย์เก่ามารวมด้วย ดังนั้นจึงมีหลายมหาลัยที่อาจจะ ‘หลุด’ ไปได้ถ้าเราไม่ค้นหาและศึกษาดีๆ เราแนะนำว่าตอนแรกไม่ควรตัดมหาลัยที่ Rank ท้ายๆ หรือไม่ติด Rank ในสาขานั้นๆ ออกไปก่อน ควรดูภาพรวมของทุกๆ อย่าง ชั่งน้ำหนักก่อนเพราะบางที่วิชาการอาจเป็นเลิศมาก แต่อย่างอื่นเราอาจจะไม่เหมาะก็ได้เนาะ 

 

    เจาะลึกการจัดอันดับ RANKING มหาลัยในออสฯ - เชื่อได้จริงมั้ยนะ?

 

Credit: The PIE Blog

 

 

 

Study in the USA

ฟรี

คู่มือเรียนต่ออเมริกา

เรื่องอื่นๆที่ไม่ควรพลาดในเล่มเราได้รวบรวมบทความที่สำคัญเกี่ยวกับเรียนต่ออเมริกาเอาไว้ทั้งหมด

ดาวน์โหลด EBOOK

MUST READ

article Img

คำศัพท์เกี่ยวกับระบบการศึกษา ภาคเรียนและประเภทของมหาวิทยาลัยในอเมริกา

       ชีวิตในการเรียนมหาวิทยาลัยในอเมริกานั้นแตกต่างกันไปเพราะมหาลัยแต่ละแห่งก็มีวิธีการของตนเองสำหรับนักเรียนต่างชาติที่มีโอกาสไปเรียนต่อในอเมริกานั้น อาจยังไม่คุ้นเคยกับระบบการศึกษาของอเมริกามากนัก ไหนจะคำศัพท์อื่นๆ ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันอีก          วันนี้ Hotcourses Thailand ขอแนะนำคำศัพท์ที่ต้องรู้หากมีโอกาสได้ไปเรียนต่ออเมริกา รู้ไว้ไม่งงเวลาคุยกับเพื่อนแน่นอน  

37.1K
article Img

ส่องเงินเดือนเด็กจบใหม่จากมหาลัยในอเมริกา เรียนจบอเมริกาได้เงินเดือนเยอะจริงไหม

ห่างหายกันไปเล็กน้อยกับซีรี่ย์ จบใหม่ได้เท่าไหร่จ๊าาา วันนี้เรามาขอปิดท้ายซีรี่ย์แบบสวย ๆ ด้วยรายงานตัวเลขเงินเดือนเด็กจบใหม่ในอเมริกามาให้ดูกันค่ะ โดยหัวข้อที่เราจะพาไปส่องกันก็มีทั้ง…   เงินเดือนเฉลี่ยทั่วไปของเด็กจบใหม่ในอเมริกา ภาษีสำหรับคนทำงานในอเมริกา เงินเดือนเฉลี่ยของเด็กจบใหม่ในอเมริกา แยกตามมหาลัย ค่าครองชีพในอเมริกา จะมีเงินเก็บไหม ถ้าเรียนจบ หางานที่นั่นจะคุ้มไหม  

15.9K
article Img

เรียนต่ออเมริการัฐไหนดี? 7 เมืองที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียนนักศึกษาในอเมริกา

       ถ้าจะไปเรียนต่ออเมริกาและกำลังส่อง   ๆ   อยู่ว่ารัฐไหนในอเมริกาน่าอยู่ที่สุด   ต้องบอกเลยว่าอาจจะต้องนั่งหาจนขอบตาดำ   เพราะเค้ามีตัวเลือกดี   ๆ   หลายรัฐมาก   ไม่ว่าจะเป็นนิวยอร์ก   บอสตัน   ฟลอริดา   ฯลฯ   ไม่ว่าที่ไหนก็ฟังดูดีไปหมด             Hotcourses Thailand  ก็เลยจะขอรับบทเป็นตัวช่วยพาทุกคนไปดู  7 

10.1K
article Img

สืบเรื่องเงินๆ ทองๆ เรียนต่ออเมริกาจ่ายไปกี่ล้าน?

    กลับมาพบกันอีกแล้วววว รายงานนักสืบอุ่นๆ พร้อมเสิร์ฟทุกคนแล้วค่ะ     วันนี้ว่าด้วยการไปเรียนต่อต่างประเทศ (ก็แหงสิ สืบแต่เรื่องนี้ ฮาาา) แต่วันนี้รายงานนี้เคยถูกขอมาโดยซิสๆ เรื่องค่าใช้จ่ายในการไปเรียนต่อ วันนี้มิสขอไปโฟกัสที่ประเทศยอดฮิตอย่างอเมริกา เอามาแจงให้กันเห็นโต้งๆ เลยว่าค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จมันเท่าไหร่กันน เริ่มม!       มิสขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ก็คือ ค่าเทอม (Tuition) และค่าใช้จ่ายประจำวัน (Living

6.6K