
ใครเคยประสบปัญหาอยากเริ่มทำอะไรสักอย่าง แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนบ้าง? เรื่องการติดต่อกับมหาลัยที่เราอยากเรียนต่อก็คล้ายๆ กันนะ ไม่รู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหน ต้องถามอะไรบ้าง? และเอาเข้าจริงๆ แล้วการเริ่มต้นมักจะยากที่สุด ว่ามั้ย? วันนี้ Hotcourses Thailand เลยรวบรวมคำถามที่มักจะถูกถามบ่อยๆ (FAQs) ในขั้นตอนการสมัครเรียนต่อมาบอกกัน
ลองอ่านไว้เป็นแนวทางเอาไว้ใช้กัน!
ควรเริ่มตอนไหน?
When should I start?
ขั้นตอนแรกก็เริ่มหาข้อมูล เข้าเว็บไซต์มหาลัยที่เราเล็งไว้ ดูหลักสูตรที่เปิดสอนของที่ต่างๆ เปรียบเทียบ ชั่งน้ำหนักและทำความเข้าเพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลในการเตรียมเอกสารต่างๆ ในอนาคต
ถ้าเป็นปริญญาตรี เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มก็คือช่วงหน้าร้อน (พฤษภาคม-สิงหาคม) นักเรียนส่วนใหญ่จะเริ่มทำเอกสารช่วงฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน)
ส่วนป. โทนั้นภาคเรียนจะเริ่มตอนกันยายน ดังนั้นก็ควรจะส่งใบสมัครตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม การเตรียมเอกสารต่างๆ ก็ควรให้เสร็จตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม กางปฏิทินไว้เลยจ้ะ
แล้วเริ่มจากตรงไหนดีนะ?
How do I begin?
พอได้คอร์สหรือหลักสูตรที่จะเรียนแล้วก็เข้าไปดูเลยว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้ สร้างโฟลเดอร์ของแต่ละมหาลัยที่เราจะสมัครไว้เลย อย่าลืมใส่ checklist ไว้ด้วยว่าเอกสารยังขาดเหลือยังไง
เช็คลิสต์การเขียนใบสมัครเรียนต่อต่างประเทศ & วิธีตรวจ APPLICATION FORM
สมัครมหาลัยกี่ที่ดี?
How many universities I can apply?
ส่วนใหญ่จะแนะนำให้เลือกไว้สัก 5-8 มหาลัย (หรือน้อยกว่านี้ก็ได้) ทั้งหมดควรจะเป็นมหาลัยที่เราอยากเข้า หรือคิดว่าเข้าไปแล้วจะแฮปปี้ และเป็นมหาลัยที่มีแนวโน้มจะตอบรับเราด้วย สรุปก็คือควรเป็นมหาลัยที่ทำให้เรารู้สึกว่าอยากไปเรียนน่ะ แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงด้วยนะ
ส่งใบสมัครตอนไหนเวิร์คที่สุด?
When is the best time to send application?
อันนี้ต้องแล้วแต่เลย ขึ้นอยู่กับมหาลัยที่อยากเข้า ในขณะที่บางมหาลัยอาจมีเดดไลน์ไว้ แต่บางมหาลัยก็เปิดรับสมัครตลอดทั้งปี ไหนจะบางที่ที่ยึดหลัก First come first serve หรือบางครั้งถ้ามหาลัยได้จำนวนนักเรียนพอแล้วก็อาจปิดรับสมัครไปดื้อๆ ดังนั้นก็ควรสมัครให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นแหละ สักประมาณ 6 เดือนก่อนที่ภาคเรียนกำลังจะเปิด
ถ้าเรามีมหาลัยที่เราอยากเข้าจริงๆ ก็สมัครไปแรกๆ (Early Application) เลย แต่ถ้ายังไม่แน่ใจเกี่ยวกับตัวเลือกก็ค่อยสมัครก็ได้ การส่งใบสมัครแรกๆ มีข้อดีคืออาจได้ offer ก่อน และพอได้แล้วก็จะจัดการเรื่องอื่นๆ ที่ต้องทำได้ไว อย่างเช่น การหาที่พัก
ในการเรียนต่อปริญญาโทนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มภาคเรียนตอนเดือนกันยายน
สมัครทางจดหมายหรือออนไลน์ดีกว่ากัน?
Should I use an online or a paper application?
ถามมหาลัยเลยว่าเขาสะดวกช่องทางไหน แต่มหาลัยส่วนใหญ่ก็จะชอบช่องทางออนไลน์มากกว่าเพราะเข้าดูง่าย แถมบางแห่งยังมี discount ให้อีกถ้าสมัครออนไลน์อะ ข้อดีของการสมัครช่องทางออนไลน์ก็คือสะดวก และมันง่ายเวลาจะแก้ไข้ข้อมูลหรือข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นเช็คกับทางมหาลัยดีๆ เพราะบางมหาลัยยังต้องการเอกสารแบบ Paper อยู่จ้ะ
ถ้าใช้ Personal statement แบบเดิมกับทุกที่จะได้มั้ย?
Is it OK to use the same material on different applications?
ได้! ไม่จำเป็นต้องเขียนใหม่ทุกครั้งเพราะอาจเป็นการเสียเวลาเนาะ ลองใช้เวลาทุ่มเทกับ Personal Statement / Essay อันเดียว เอาให้เริด ให้ปังไปเลยดีกว่า แต่พยายามอย่าเอ่ยถึงชื่อคอร์ส ชื่อมหาลัยอะไรเป็นพิเศษ ให้เอ่ยถึงหลักสูตรคร่าวๆ ก็พอ
รวมหลากหลายวิธีเขียน PERSONAL STATEMENT พิชิตใจคนอ่านได้ตั้งแต่พารากราฟแรก
เคล็ดลับการเขียน PERSONAL STATEMENT สำหรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
ควรสมัครมั้ยถ้าคะแนนไม่ถึงเกณฑ์?
Should I apply to colleges if my admission-test scores are below their published ranges?
ควร! จะบอกว่าสิ่งที่เค้าบอกให้เว็บน่ะคือคะแนนกลางๆ เท่านั้น ไม่ได้ตัดฉับซะทีเดียว ให้ระลึกไว้ว่ามหาลัยไม่ได้เอาคะแนนมาพิจารณาอย่างเดียว เขาเอาทั้ง Personal Statement, กิจกรรมที่เราเคยทำ, ประสบการณ์ทำงาน รวมไปถึงจดหมายแนะนำตัวมาพิจารณาด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมสร้าง profile ตรงนี้ไว้ด้วย
7 มหาลัยยอดฮิตที่ไม่มี IELTS ก็เข้าเรียนได้
สมัครมหาลัยที่คิดว่ายังไงก็ไม่มีทางจ่ายไหวดีมั้ย?
Should I even bother applying to colleges I don’t think I can afford?
ลอง! ส่วนใหญ่มหาลัยจะมีทุนอยู่แล้ว แต่ต้องเข้าไปเช็คดีๆ นะว่าเป็นทุนอะไร คลอบคลุมอะไรบ้าง ให้แค่นักเรียนชาติเค้ารึเปล่า เพราะฉะนั้นต้องลองสมัครเข้าไปก่อน ได้ก็ค่อยมาดูส่วนนี้อีกทีนึงเนาะ
รวมทุนการศึกษายอดฮิตที่คัดแล้วกว่า 20 ทุนเพื่อการเรียนต่อ
อัปเดตทุนเรียนต่ออเมริกาประจำปี 2019
ติดตาม FAQs ที่ต้องรู้อีกได้อีกในตอน 2 นะ!