
การสมัครทุนเป็นการแข่งขันที่เข้มข้นกว่าการสมัครเรียนทั่วไปไม่รู้กี่เท่า ถึงแม้คู่แข่งจะน้อยกว่า เพราะคนคงไม่สมัครทั่วประเทศ แต่จำนวนที่นั่งนั้นน้อยกว่ามาก แต่อย่าลืมว่าทุกครั้งก็มีคนได้ทุนเสมอ ดังนั้นถ้าเรามุ่งมั่นตั้งใจจริงๆ โอกาสคว้าทุนก็ยังมีอยู่ สำหรับมือใหม่ที่อยากลองสนามนี้สักครั้ง Hotcourses Thialand นำ 4 หลักกิโลที่ทุกคนต้องเจอก่อนคว้าทุนมาให้ทำความเข้าใจกัน
1. รู้จักทุน : จะไปขอทุนเขารู้จักทุนของเค้าดีหรือยัง
ทุนมีกลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นทุนรัฐบาล หรือทุนจากมหาวิทยาลัยนั้นๆ เอง รวมไปถึงทุนจากบริษัทเอกชนต่างๆ แต่ละทุนก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป เช่น ทุนเต็มจำนวน ทุนครึ่งจำนวน ทุนที่ต้องกลับมาใช้ทุน ทุนที่จำกัดสาขาเรียน ฯลฯ รายละเอียดเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนจะสมัคร ที่สำคัญคือต้องเช็ควันเปิด-ปิดรับสมัครและวิธีการสมัครให้ดี ถ้าพลาดก็ต้องรออีกปีนึงเลยนะ
- 5 ทุนรัฐบาลออสเตรเลีย
- 10 ทุนยอดฮิตที่ดีที่สุดในโลก
- ทำความรู้จัก 'ทุนมง' ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นที่นักเรียนไทยใฝ่ฝัน
- ทำความรู้จักทุนเรียนต่อประเทศมาเลเซีย
- ULTIMATE SCHOLARSHIPS GUIDE: รวมทุนรัฐบาลจากประเทศทั่วโลก! VOL.1, VOL.2
นอกจากนี้ยังมี "ทุนนอกกระแส" ซึ่งมักเป็นทุนที่ไม่ได้มาจากองค์กรศึกษาขนาดใหญ่หรือ องค์กรทุนนานาชาติที่มีการบริหารงานแบบทั่วโลกที่เรารู้จัก แต่อาจเป็นทุนที่มาจากบริษัทเอกชนระดับกลาง หรือองค์กรอิสระ ซึ่งจะขอแบ่งง่ายๆเป็น 2 แบบ
1. ทุนจากบริษัทเอกชน หรือองค์กรอิสระ เช่น ทุนปูนอินทรีย์ที่ให้เฉพาะเด็กต่างจังหวัด หรือ ทุนTCDC (Thailand Creative & Design Center) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่ให้ทุนเฉพาะด้านออกแบบและดีไซน์เท่านั้น
2. ทุนจากองค์กรการศึกษา เป็น ทุนช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยต่างๆ มหาวิทยาลัยต่างประเทศเกือบทุกที่จะมีทุนการศึกษาประจำคณะอยู่แล้ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยด้านการเงินของนักเรียนไทย หลังจากที่เราได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยแล้ว หรือเมื่อเราสมัครเรียน เราสามารถสมัครทุนได้ด้วย ซึ่งทุนเหล่านี้โดยมากจะแยกเป็นของเด็กทีมาจากนอกประเทศ และเด็กภายในประเทศ ดังนั้นการแข่งขันก็จะลดลง โอกาสได้ก็มากขึ้น ลองดูทุนแบบนี้ได้ที่นี่
2. จับคู่ทุน
ทุนมีอยู่เยอะ แต่ทุนไหนที่เหมาะกับเรา ทำความรู้จักตัวเองจุดแข็ง จุดอ่อนของเรา เตรียมเอกสารเพื่อให้ใบสมัครเราดูดี และ เหตุผลที่เราต้องการทุนนั้นเหมาะกับวัตถุประสงค์ของการให้ทุนหรือไม่ เช่น ทุนเพื่ออาจารย์สอนภาษาในต่างประเทศ แต่เรากลับเขียนใน Statement of purpose ว่าเป็นเพราะอยากจะเป็นนักแปลหนังสือเด็ก ก็ดูจะเป็นเหตุผลส่วนตัวเกินไป ส่วนใหญ่แล้วเหตุผลที่อยากได้ทุนกับจุดประสงค์ของการให้ทุนต้องตรงกัน คนนั้นก็มีโอกาสเข้ารอบมากขึ้น บางทีเอกสารของเราจะไม่ดูดีเท่าผู้สมัครคนอื่น แต่เหตุผลที่เราอยากได้ทุน มันดีและมีคุณค่า (ห้ามพูดเด็ดขาด ว่าอยากเรียนฟรี ก็เลยอยากได้ทุนอะไรก็ได้ แบบนี้ไม่ได้แน่นอน) เราก็สามารถคว้าทุนนั้นได้ ลองอ่านวิธีแมชท์ทุนแบบ 100%
3. เตรียมใบสมัครทุน
ใบสมัครทุนมีความแตกต่างจากใบสมัครเรียนทั่วๆไปอยู่เล็กน้อย สิ่งที่แตกต่างและต้องรู้เรื่องการเตรียมเอกสารสมัคร เอกสารที่ส่งส่วนมากก็เหมือนกัน ได้แก่
- Education Certificate : หลักฐานการศึกษาหรือใบแสดงผลการเรียน
- CV หรือ Resume : วิธีการเขียน CV เพื่อสมัครทุน
- Statement of Purpose : อย่าลืมเขียนชื่อตัว คณะ และชื่อทุนที่ต้องการจะสมัครให้ถูกต้องชัดเจน
- Letter of Recommendation : ดูว่าเค้าต้องการกี่ฉบับจากที่เรียน และจากที่ทำงาน
- Application : ดูให้ชัดเจน ส่งที่ใคร ที่คณะไหน ภายในวันที่เท่าไหร่ บางที่ให้ส่งทั้ง online และทางไปรษณีย์ แนะนำว่า หากไม่ได้รับการยื่นยันหรือตอบรับทางเมล์ ควรโทรไปเช็คว่าสถาบันได้รับใบสมัครของเราเป็นที่เรียบร้อย ลองคิดดูว่าลงแรงไปเยอะ ถ้าเอกสารของเราไปไม่ถึง ก็จบเห่ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม โทรไปตามนิดนึง สบายใจทั้งเรา แถมยังดูเป็นผู้สมัครที่เอาใจใส่และรอบคอบอีกด้วย
- Portfolio : ทุนบางสาขา เช่น ศิลปะ หรือ ออกแบบ อาจมีของให้ส่งผลงาน ตัวอย่าง คุณอาจทำ Portfolio online ดูตัวอย่างเจ๋งๆและสร้างพอร์ทของคุณได้ที่ Wixblog หรือ Portfolio ทำมือจาก Kingston University
4. ส่งใบสมัครและรอผลตอบรับ
เป็นช่วงเวลาของการทำใจให้สบาย และคิดบวกเข้าไว้ ให้คิดว่าทุนจะถูกมอบให้กับคนที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งอาจเป็นเราก็ได้ แต่ถ้าสุดท้ายแล้วเราไม่ได้ ก็อย่าลืมว่าชีวิตยังมีอีกหลายเส้นทาง Keep trying!
เคล็ดลับหาทุนเรียนต่อเมืองนอกยังไงให้ไม่พลาด